250 likes | 739 Views
สรุปผลการปฏิบัติงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ประจำปีงบประมาณ 2554. โดย กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง ตุลาคม 2554. คำนำ. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานอา ชีว เวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่งฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอผลการปฏิบัติงาน
E N D
สรุปผลการปฏิบัติงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ประจำปีงบประมาณ 2554 โดย กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง ตุลาคม 2554
คำนำ รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่งฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ที่สำคัญของหน่วยงานในรอบปีงบประมาณ 2554 ที่ผ่านมา การจัดทำรายงานฉบับนี้ นับเป็นปีที่ 5 ของการจัดทำ โดย รวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ ทั้งปริมาณผลการปฏิบัติงานและภาพกิจกรรมบางส่วน คณะผู้จัดทำ มีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมผลการปฏิบัติงาน และจัดทำเอกสารรายงานเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องต่อไป และ ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน ด้วยความขอบคุณ ตุลาคม 2554
1. กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง วิสัยทัศน์ บริการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ ให้ปลอดภัยจากโรค และอันตรายจากการทำงาน พันธกิจ ให้บริการแก่ผู้ประกอบอาชีพ ภายในและนอกโรงพยาบาล ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ และอื่นๆ โดยเน้นการดูแลสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และสนับสนุนวิชาการด้านอาชีวอนามัย ภารกิจ หน้าที่ และบริการ งานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล งานอาชีวอนามัยนอกโรงพยาบาล งานเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคและอันตรายจากการทำงาน งานส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการทุกประเภท งานวิชาการ : เป็นแหล่งข้อมูลในด้านอาชีวอนามัย : รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลด้านอาชีวอนามัย : ประชุม อบรม ให้ความรู้ และปรึกษาแนะนำด้านอาชีวอนามัย @ @ @
2. กระดูกและข้อ นรีเวช ทางเดินอาหาร ตา หู คอ จมูก ทางเดินหายใจ บริการอาชีวอนามัย ในโรงพยาบาล กิจกรรม ผลการปฏิบัติ ปี 2554 ตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล * ก่อนบรรจุงาน 42 ราย * ประจำปี 874 ราย * ตรวจสมรรถภาพตามความเสี่ยงของงาน 222 ราย ตรวจสุขภาพผู้รับบริการจากสถานประกอบการ * ก่อนบรรจุงาน 228 ราย * ประจำปี 70 ราย * ตรวจสมรรถภาพตามความเสี่ยงของงาน 248 ราย ให้ความรู้ และคำปรึกษาด้านอาชีวอนามัย 1,128 ครั้ง / 1,128 ราย ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาล 1,195 ราย จัดทำระบบนัดเพื่อรับบริการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก 97 ราย แสดงข้อมูลการลาป่วยด้วยโรค / อาการผิดปกติ 5 อันดับแรก ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง ปี 2554 277 (30.64 %) 121 (13.38 %) 82 (9.07 %) 42 (4.65 %) 21 (2.32%) 21 (2.32%) ทางเดินปัสสาวะ
3. บริการอาชีวอนามัย นอกโรงพยาบาล กิจกรรม ผลการปฏิบัติ ปี 2554 ตรวจสุขภาพพนักงานและผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ดังนี้ * ตรวจสุขภาพประจำปี 52 แห่ง / 3,614 ราย * ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของลักษณะงาน ด้วยเครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์ 1,808 ราย ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาล โรงงาน หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน 3,609 ราย @ @ @
4. งานเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค และอันตรายจากการทำงาน กิจกรรม ผลการปฏิบัติ ปี 2554 ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และเฝ้าระวังสิ่งคุกคามในโรงพยาบาล * แสงสว่าง 1 หน่วยงาน / 4 จุด * สารระเหยและก๊าซทางการแพทย์ 1 หน่วยงาน / 2 จุด เฝ้าระวังสุขภาพเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ได้แก่ * รวบรวมข้อมูลการเจ็บป่วยและการลา 904 ราย * รวบรวมข้อมูลโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน 22 ราย รวบรวมข้อมูลผู้รับบริการในโรงพยาบาล / สอบสวนโรค และอุบัติเหตุจากการทำงานในหอผู้ป่วย 832 ราย / 128 ราย จัดทำรายงาน 506/2 (โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม) 111 ราย ประเมินความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (ต่อเนื่องจากปี 2553) 61 หน่วยงาน ให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี แก่เจ้าหน้าที่ใหม่ ในโรงพยาบาล 22 ราย สอบสวนวัณโรคในเจ้าหน้าที่และให้ความรู้ในการปฏิบัติตน 6 ราย รายงานการสอบสวนวัณโรคในเจ้าหน้าที่ต่อผู้บริหารโรงพยาบาล 1 ครั้ง
5. งานส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรม ผลการปฏิบัติ ปี 2554 ให้ความรู้และร่วมจัดประชุมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และอาชีวอนามัยแก่กลุ่มเป้าหมาย 57 แห่ง,ครั้ง / 4,434 คน ร่วมโครงการรณรงค์คนราชบุรีสุขภาพดี ไม่มีพุง ในกลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 3 ครั้ง / 868 คน กิจกรรมที่มีการดำเนินงานต่อเนื่อง ได้แก่ • ร่วมเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล • ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เช่น การออกกำลังกาย แข่งขันกีฬา และร่วมรณรงค์ในโอกาสต่างๆ • ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่มีปัญหาสุขภาพ ของหน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาล @ @ @
6. งานวิชาการ กิจกรรม ผลการปฏิบัติ ปี 2554 ให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล 4,434 ครั้ง / 4,434 ราย ศึกษาดูงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 25 เพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน 1 ครั้ง / 7 คน ร่วมในการจัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล 1 ครั้ง / 59 คน ร่วมจัดประชุมวิชาการ เรื่อง ส่งเสริมสุขภาพบุคลากรกลุ่มป่วย ด้วยกลุ่มโรคทางเมตาบอลิค 1 ครั้ง / 200 คน ร่วมกิจกรรมและจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ลดไขมัน ปันรักษ์สู่หัวใจ 1 ครั้ง / 138 คน ร่วมจัดทำโครงการ การส่งเสริมการเดินในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน : การจัดการน้ำหนักและรอบเอว 1 ครั้ง / 201 คน
7. ภาพบางส่วนในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการตรวจรับรองซ้ำ (re-accredit) โครงการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาล ประจำปี 2554 โดยกรมควบคุมโรค เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพพนักงานสิทธิประกันสังคม ในสถานประกอบการ ของ สปสช. เขต 5 ราชบุรี โดยร่วมทีมวางแผน / ให้บริการในกลุ่มเป้าหมาย
8. ภาพบางส่วนในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่ 7 (27-29 ก.ค.54) ตรวจสุขภาพประจำปีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ประจำปี 2554 ร่วมทีมตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาล (27 มิ.ย.54) ร่วมกิจกรรม / เป็นที่ตั้งศูนย์อำนวยการ ในการซ้อมแผนอัคคีภัยฯ (28 ก.ย.54)
9. ภาพบางส่วนในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ศึกษาดูงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 25 ณ ไบเทค บางนา ให้บริการอาชีวอนามัยแก่ผู้ประกอบอาชีพ ทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล
10. Service Profileกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม • บริบท (Context) • หน้าที่และเป้าหมาย • ให้บริการสุขภาพผู้ประกอบอาชีพแบบองค์รวม ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย • ขอบเขตการให้บริการ ศักยภาพ ข้อจำกัด • ให้บริการแก่ผู้ประกอบอาชีพทั้งในและนอกโรงพยาบาล ในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และภาคบริการ รวมทั้งการสนับสนุนวิชาการด้านอาชีวอนามัย • ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ • ผู้รับผลงาน คือผู้รับบริการด้านอาชีวอนามัย ทั้งในและนอกโรงพยาบาล โดยมีความต้องการที่สำคัญคือ • 1. บริการรวดเร็วและถูกต้อง • 2. บริการครบวงจร • 3. รับทราบข้อมูลการให้บริการ และคำปรึกษาแนะนำ • 4. การรักษาความลับของผู้รับบริการ • ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ • การให้บริการอาชีวอนามัย ตามขอบเขตการให้บริการ • ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ • การให้บริการอาชีวอนามัยที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
11. กระบวนการสำคัญ (Key Processes) • การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ • คือ การเชื่อมโยงระบบการให้บริการของหน่วยงานเข้ากับระบบHosXP • ของโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกของผู้รับบริการ และทำให้ระบบของโรงพยาบาล • มีความสมบูรณ์ • แผนการพัฒนาต่อเนื่อง • คือ การประสานให้มีแพทย์และสถานที่เฉพาะ เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพหรือ • ตรวจวินิจฉัย รักษาโรคจากการทำงาน สำหรับผู้รับบริการด้านอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล
12. สรุป การจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล มีความสำคัญและจำเป็น เนื่องจากวัตถุประสงค์หลัก คือการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ปลอดภัยในการทำงาน โดยจะมีการประเมินความเสี่ยงจากสภาพ การทำงาน เพื่อลดการเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ และความไม่ปลอดภัย ในการทำงานในด้านต่างๆ มีการตรวจสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยง ของการเกิดโรค มีระบบการดูแล และจัดการในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บจากการทำงาน รวมทั้งการติดตามข้อมูลการเจ็บป่วย การดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ในโรงพยาบาล เป็นภารกิจที่เจ้าหน้าที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการค้นหา และ วางแผน ดำเนินการควบคุมและป้องกัน มาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากการ ได้รับการตรวจรับรองซ้ำ (re-accredit) โครงการประเมินความเสี่ยงจากการ ทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล ในปีนี้ หลังจากที่โรงพยาบาลได้ผ่าน การรับรองในระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด เมื่อปี 2551 จากสำนักโรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เจ้าหน้าที่กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ปีงบประมาณ 2554 คำอิ่ม บัวมณี เจสตาคม ตันชุมพร กาลิ้ม เข้มแข็ง แก้วเกิด สงวนวงศ์ 1. น.พ.เกรียงศักดิ์ 2. นางกัญจนา 3. นางสุมาลี 4. น.ส.สุริสา 5. นางนนทิยา 6. นางจงรัก 7. นายชายนต์ 8. นางเยาวภา แพทย์หัวหน้ากลุ่มงาน พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานพิมพ์
โรงพยาบาลบ้านโป่ง โรงพยาบาลของประชา รักษาทุกโรคภัย เครื่องมือทันสมัย เต็มใจบริการ