900 likes | 1.21k Views
บทนำ. 1.ประวัติกฎหมายครอบครัว 3.การหมั้น 5.ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 7.การสิ้นสุดแห่งการสมรส 9.ผู้ใช้อำนาจปกครอง ปกครองตัว ม.1567 ปกครองทรัพย์ ม.1574 , 1575 10.ผู้ปกครอง 12.ค่าอุปการะเลี้ยงดู.
E N D
บทนำ 1.ประวัติกฎหมายครอบครัว 3.การหมั้น 5.ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 7.การสิ้นสุดแห่งการสมรส 9.ผู้ใช้อำนาจปกครอง ปกครองตัว ม.1567 ปกครองทรัพย์ ม.1574,1575 10.ผู้ปกครอง 12.ค่าอุปการะเลี้ยงดู 2.พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ใหม่ 2519 4.การสมรส โมฆะ โมฆียะ 6.ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา 8.บิดามารดากับบุตร:บุตรนอกสมรส 11.บุตรบุญธรรม
ประวัติ กม.ครอบครัว มี 4 ฉบับ 1. กม.ลักษณะผัวเมีย พ.ศ.1904 ใน กม.ตราสามดวง พ.ศ.2347 2. กม.ครอบครัวใน ปพพ.บรรพ5 (เก่า) 1 ตุลาคม 2478 3. กม.ครอบครัว ฉบับปัจจุบัน ใน ปพพ.บรรพ5 ที่ตรวจชำระใหม่ 16 ตุลาคม 2519 4. พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม ปพพ. (ฉบับที่ 10) 27 กันยายน2533
กม.ลักษณะผัวเมีย พระเจ้าอู่ทอง ประกาศใช้ พ.ศ.1904 พระพุทธยอดฟ้า ปรับปรุง พ.ศ.2347 (กม.ตรา 3 ดวง) หลักสำคัญ 1. ชายมีภริยาหลายคน Polygamy 2. การสมรสไม่ต้องจดทะเบียน 3. การขาดจากการสมรสทำได้ง่าย 4. การแบ่งสินสมรส - ถ้าชายหญิงทั้ง 2 ข้าง มีสินเดิม ให้ชาย 2 หญิง 1 - ถ้าหญิงมีสินเดิมฝ่ายเดียว ให้ชาย1 หญิง2 - ถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่ได้ส่วนแบ่ง - ถ้าหย่าโดยสามีเป็นฝ่ายผิด แบ่งคนละครึ่ง
การขาดจากการสมรส มี 5 วิธี 1. การบวช ถ้าสามีบวช การสมรสขาดจากกัน ถ้าภริยาบวช การสมรสจะขาดต่อเมื่อสามียินยอมให้บวช (ม.37,38,39) 2. สามีจงใจสละละทิ้งภริยาไป 1 ปี 4 เดือน หญิงหาผู้ใหญ่ส่งสินสอด ขันหมากคืนฝ่ายชาย (ม.49) 3. ชายเอามีดพร้าฟันเสาเรือน เก็บสิ่งของลงจากเรือนไปวันเดียวการสมรส ขาดจากกัน(ม.51) 4. ตกลงหย่าเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน้าผู้เฒ่าผู้แก่(ม.65,67) 5. ความตาย การสมรสไม่ขาดทันที ถ้ายังไม่ทำศพ เอาชายอื่นมานอนด้วย ถือเป็นชายชู้ จะปรับชายชู้เอาเงินมาทำศพสามี(ม.30)
กม.ครอบครัวฉบับที่ 2(บรรพ 5 เก่า) 1 ตุลาคม 2478 2398 SIR JOHN BOWRINGผู้แทนควีนวิคตอเรียทำสัญญากับ ร.4 (พระสยามานุกูลกิจ) 2399 ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตEXTRATERRITORIAL RIGHT แก่อังกฤษและแก่ชาติต่างๆในยุโรป 2399-2411 ไทยเสียเอกราชทางศาล จึงต้องปรับปรุงกฎหมายตามหลักสากล 2454 ตั้งโรงเรียนกฎหมาย 2481 ยกเลิกสนธิสัญญาได้ โดยที่ปรึกษาชื่อSIR FRANCIS B. SAYRE (พระยากัลยา ณ ไมตรี)
หลักการในบรรพ 5 เก่า (1 ตุลาคม 2478) 1.การสมรสต้องจดทะเบียน 2.ใช้ระบบผัวเดียวเมียเดียว(MONOGAMY) 3.การขาดจากการสมรสต้องเป็นความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือศาลพิพากษา 4.สามีมีอำนาจจัดการสินบริคณฑ์ 5.การแบ่งสินสมรสแบ่งคนละครึ่ง 6.อำนาจปกครอง บิดาเป็นใหญ่
บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่2519 (16 ตุลาคม 2519) ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ 2517 ม. วรรค 2 1. การสมรสต้องจดทะเบียน 2. สามี-ภริยา จัดการสินสมรสร่วมกันต่างต้องขอความยินยอม จากกันและกัน 3. มีอำนาจปกครองบุตรเท่าเทียมกัน 4. มีสิทธิแบ่งสินสมรสเท่ากันคนละครึ่ง 5. หญิงมีสิทธิฟ้องหย่าเมื่อสามีนอกใจไปอุปการะ หรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม ปพพ. (ฉบับที่ 10) 27 กันยายน 2533 1.การหมั้นต้องมีของหมั้น กรรมสิทธิ์ตกเป็นของหญิงทันที 2.การจัดการสินสมรสต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส เฉพาะนิติกรรม 8 อย่าง (ม.1476) 3.การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะการสมรสซ้อน ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้น หรือขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ (ม.1497) 4.เพิ่มเหตุหย่า 3 ประการ (ม.1516) (1) ถูกจำคุกเกิน 1 ปี (2) สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี (3) ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เกิน 3 ปี 5.รับบุตรบุญธรรมได้เมื่ออายุ 25 ปี
พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม ปพพ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 ม.62 ในกรณีที่มีการให้ของหมั้นกันไว้ก่อนวันที่ พรบ. นี้ใช้บังคับ ให้ของหมั้นดังกล่าวตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อได้ทำการสมรสแล้ว ม.65 การสมรสฝ่าฝืน ม.1452 ที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสุจริตอยู่ก่อนวันที่ กม.นี้ใช้บังคับให้เป็นไปตาม ม.1499 แห่ง ปพพ.ก่อนการแก้ไข
การใช้ กม. ครอบครัว ใน 4 จังหวัดภาคใต้ 1. พศ. 2444 ข้อบังคับบริเวณ 7 หัวเมือง รศ. 120 ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง มี โต๊ะกาลี เป็นผู้ตัดสินคดี ครอบครัว มรดก โดยใช้หลัก กม. ตามศาสนาอิสลาม 2. พศ. 2486 นำบรรพ 5 – 6 ใช้ใน 4 จังหวัดภาคใต้ 3. พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้ กม.อิสลามในเขตปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พศ. 2489 คดีครอบครัว มรดกที่คู่กรณีนับถือศาสนาอิสลาม ตัดสินโดย ดะโต๊ะยุติธรรม นั่งเป็นองค์คณะ
หลัก กม. ครอบครัวในศาสนาอิสลาม - สามีมีภริยาได้หลายคน - การขาดจากการสมรสทำได้ง่ายโดยทำพิธีตอละก์ ( TALAK ) โดยกล่าววาจาต่อภริยาโดยตรง หรือโดยปริยายต่อส่วนของร่างกาย หรือ โลหิตของภริยา 3 ครั้ง หรือสามีร่วมประเวณีกับมารดาของภริยาโดยสำคัญผิด ถือว่าขาด จากการสมรส ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี คือศาลจังหวัด มิใช่ศาลเยาวชนและ ครอบครัว
พรบ.ให้ใช้ บรรพ 5 ใหม่ 2519 ม.3 ยกเลิกบรรพ 5 เก่าทั้งหมด เว้นแต่ ส่วนที่ไม่ยกเลิกจะบัญญัติไว้เป็นพิเศษ คือ 1.สามีภริยาตามกม.ลักษณะผัวเมียจะไม่เปลี่ยนแปลง ทั้ง 2 ด้าน คือ ก.ความสัมพันธ์ส่วนตัว ข.ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน ใครมีสิทธิอยู่อย่างไรก็เป็นไปตามเดิม กม.ใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึง (ม.4 พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ใหม่ 2519)
2.สามีภริยาตามบรรพ 5 เก่า ก. ความสัมพันธ์ส่วนตัวคงเดิม (ม.5 พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ใหม่ 2519) ข. ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลง (ม.6,7,8 พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ใหม่)
2276/2521 เด็กเกิดก่อนใช้บรรพ 5 ใหม่ เหตุอ้างเพื่อฟ้อง ให้บิดารับรองบุตรอ้างได้ 5 เหตุ ตามกม.เก่า ม.1529 เพราะ กม.ใหม่ ไม่กระทบถึง การเป็นบิดามารดากับบุตรที่มีอยู่แล้ว ก่อนบรรพ 5 ใหม่ใช้บังคับ 30/2520 ม.1555 ใหม่มีเหตุอ้าง 7 เหตุ แต่เด็กที่เกิดก่อน 16 ต.ค.19 จะอ้างกม.ใหม่เพื่อฟ้องให้รับรองบุตรไม่ได้ ต้องอ้างกม.เก่า ม.1529 ซึ่งมีเหตุอ้างได้ 5 เหตุ
2091/2523 เป็นสามีภริยาก่อนใช้บรรพ 5 เดิม แต่ตายเมื่อใช้บรรพ 5 เดิมแล้ว การแบ่งทรัพย์ต้องแบ่งตามกม.ลักษณะผัวเมีย พ่อ สมมารถ จอน เขียด - สามีทำพินัยกรรมยกที่ดินซึ่งได้รับมรดกจากบิดาให้น้องชายทั้งหมด - ภริยาเพิกถอนพินัยกรรมได้เพียงไร? - ที่ดินแปลงนี้เป็นสินสมรส หรือสินส่วนตัวของนายจอน?
สมรสตามกม.ลักษณะผัวเมีย ที่ดินแปลงนี้ เป็นสินสมรส สามีทำพินัยกรรมยกให้น้องทั้งหมด ภริยาขอเพิกถอนได้ 1/3 น้องได้ 2 ใน 3 -สมรสตาม กม.ลักษณะผัวเมีย (ก่อนใช้บรรพ 5 เมื่อ 1 ต.ค. 2478) แบ่งสินสมรส ชาย 2 หญิง 1 -สมรสตามบรรพ 5 เก่า (1 ต.ค. 2478 – 15 ต.ค. 2519) แบ่งสินสมรสคนละครึ่ง -สมรสตามบรรพ 5 ใหม่ (16 ต.ค. 2519 – ปัจจุบัน) -ทรัพย์ที่ฝ่ายใดได้มรดกมาเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น ม.1471 (3) -สามีได้มรดกมาแล้วทำพินัยกรรมยกให้น้องทั้งหมด ภริยาไม่มีสิทธิได้รับ
2896/2525 ชัย สว่าง (ชี) มาลี ประยงค์ ชัยสมรสกับสว่าง เมื่อ 2475 ต่อมา สว่างไปบวชชี 2477 ชัยอยู่กินฉันสามีภริยากับมาลีเป็นเวลา 10 ปี ตายเมื่อ 2521 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้ประยงค์บุตรของมาลี แม่ชีมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมการให้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
ฏ.2896/2525 (ต่อ) ม.1473 บรรพ 5 เก่า สามีมีอำนาจจำหน่ายบริคณฑ์ได้ แต่ในกรณีต่อไปนี้ ต้องได้รับความยินยอมของภริยาก่อน 1.สินเดิมของภริยา 2.โอนโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งสินสมรสที่ภริยาได้มาโดยการยกให้ หรือพินัยกรรม 3.ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางสมาคม ศาลฎีกาพิพากษาว่า แม่ชีสว่างมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมการให้ได้ เพราะมิใช่ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี
507/2519 พ่อ ห จำปา (จำเลย) พ (โจทก์,บุตรบุญธรรม) บุตรบุญธรรมตาม กม.เก่า (ลักษณะผัวเมีย) ไม่ต้องจดทะเบียน และไม่มีสิทธิรับมรดก แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมตายเมื่อ กม.ใหม่ใช้บังคับแล้ว บุตรบุญธรรม ตาม กม.ลักษณะผัวเมียซึ่งไม่จดทะเบียนก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตร บุญธรรมอยู่ตามเดิม
ฎ.2664/2523 ม.4 พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ยัง (บวชชี) ชม เนิ้ม 2484 2477 2518 • นายชม สมรสกับนางยัง 2477 ต่อมานางยังไปบวชชี • นายชมแต่งงานกับนางเนิ้ม เมื่อ 2484 จดทะเบียนสมรส 2518 • นายชมตาย เมื่อ 2519 • -ใครมีสิทธิรับมรดก ? • -แม่ชียังโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่นางเนิ้มและบุตรได้หรือไม่
2664/2523 ( ต่อ ) ภริยาตาม กม.ลักษณะผัวเมียออกบวชชี ไม่ปรากฏว่าสามีอนุญาต การสมรสยังไม่ขาดจากกัน สามีมีภริยาใหม่จดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2518 สามีตายเมื่อปี 2519 เรือนปลูกอยู่ในที่ดินซึ่งมีชื่อแม่ชีเป็นเจ้าของ แม่ชีโอนที่ดินให้โจทก์ เรือนเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในเรือนด้วย ภริยาใหม่ไม่มีสิทธิรับมรดกเพราะการสมรสเป็นโมฆะ จำเลยไม่ใช่ภริยาตามกฎหมายของนายชมโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ม.7 พรบ.ให้ใช้ ปพพ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ 2519 ฎ.5137/2533 พรรณี วัชรินทร์ พรรณีได้รับการโอนที่ดินจากมารดาเมื่อ 2498 สมรสกับวัชรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2514 โอนขายที่ดินแปลงนี้ เมื่อ พ.ศ. 2527 สามีฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อ 2528 จะเพิกถอนได้หรือไม่ ? ที่ดินเป็นสินเดิมของพรรณีตามบรรพ 5 เก่า ซึ่งกลายเป็นสินส่วนตัว ตาม พรบ.ให้ใช้บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ 2519 มาตรา 7
ม.9 พรบ. ให้ใช้บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ 2519 อายุความในคดีฟ้องหย่า กม. บรรพ 5 เก่า = 3 เดือน กม. บรรพ 5 ใหม่ = 1 ปี ฎ. 1549/2523 โจทก์รู้ว่าภริยามีชู้ เมื่อ 14 เม.ย. 2519 จะต้องฟ้องภายในวันที่เท่าไร....... และจะต้องใช้อายุตามกม. เก่าหรือใหม่ เพราะเหตุใด ? ถ้ารู้ว่าภริยามีชู้เมื่อ 12 ส.ค. 2519 จะใช้อายุความตาม กม. เก่าหรือใหม่ คดีนี้จะขาดอายุความเมื่อใด ?................
การหมั้น 1.เงื่อนไขการหมั้น 1.ชายหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ 2.ได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้ปกครอง 3.มีการมอบทรัพย์สินให้เป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิง ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของหญิง ในวันหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรส สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
2.ผลของสัญญาหมั้น 1.บังคับให้สมรสไม่ได้ (ม.1438) 2.กำหนดเบี้ยปรับไม่ได้ (ม.1438) 3.เรียกค่าทดแทนเมื่อผิดสัญญาได้ (ม.1439,1440) 4.เรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่แย่งคู่หมั้นหรือข่มขืนหญิงคู่หมั้นได้ (ม.1445,1446) 3.การสิ้นสุดสัญญาหมั้น 1.เมื่อทำการสมรส 2.ตาย ก. เหตุเกิดแก่หญิง ม.1442 3.บอกเลิก ข. เหตุเกิดแก่ชาย ม.1443 ค. ประพฤติชั่วหลังหมั้น ม. 1444
4.ผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น4.ผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น - ชาย,หญิง ที่เป็นคู่หมั้น - บิดา,มารดาของทั้งสองฝ่าย - บุคคลผู้กระทำการในฐานะบิดา – มารดา การเรียกค่าทดแทนเป็น สิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ และไม่ตกทอดไปถึง ทายาท นอกจากค่าทดแทนตาม ปพพ. ม. 1440(2) 5. วิธีการในการคืนของหมั้นหรือสินสอด -ใช้หลักเรื่องลาภมิควรได้ ม. 412-418 -ถ้าเป็นเงินให้คืนเท่าที่มีอยู่ในขณะเรียกคืน -ไม่ต้องคืนดอกเบี้ยที่ได้มาระหว่างหมั้น แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง จนถึงวันชำระเงิน 7.5% ( ปพพ.มาตรา 7 )
6.อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทน6.อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทน 1. ฐานผิดสัญญาหมั้น 6 เดือน นับแต่ผิดสัญญา 2. ประพฤติชั่วหลังหมั้น 6 เดือน นับแต่รู้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่ทำชั่ว 3. ฐานร่วมประเวณีหรือข่มขืนหญิงคู่หมั้น 6 เดือนนับแต่รู้ และไม่เกิน 5 ปีนับแต่กระทำผิด 4. เรียกของหมั้นคืน 6 เดือนนับแต่ผิดสัญญา ม.1439 6 เดือนนับแต่วันบอกเลิกการหมั้น ม. 1442 5. เรียกค่าสินสอดคืน = 10ปี (ม.193/30)
เหตุสำคัญ ม. 1442,1443 ยกขึ้นอ้างเพื่อบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน ฎ.640/2494 หมั้นและแต่งงานตามประเพณีได้ 10 วัน หญิงไม่ยอมเข้า หอร่วมหลับนอน ชายจับเอวจะพาเข้าห้อง หญิงเอาแจกันตีชาย หัวแตกเย็บ 7 เข็มชายปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย ชายมีสิทธิบอกเลิกการหมั้นและเรียกของหมั้นคืนได้หรือไม่ ?
ตอน 7 P.953 ความหมายของ “ข่มขืน” ฎ.1048/2518 การสำเร็จความใคร่ทางทวารหนักไม่ใช่การร่วมประเวณี และไม่ใช่การ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นเพียงการล่วงเกินในทางชู้สาว ชายคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นใน ทางชู้สาวถ้าไม่ถึงขั้นร่วมประเวณีหรือข่มขืน ตาม ม.1445,1446 แต่สามีมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาว และภริยามีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามี ความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ (ม.1523 วรรคสอง) หญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่ร่วมประเวณีกับชาย คู่หมั้น ตาม ม.1445
สินสอด 1.คืออะไร ม.1437 วรรค 3 125/2518 เงินที่ให้การขอขมาหลังจากหญิงตามชายไปเป็นสินสอดหรือไม่ ? 2.ให้แก่ใคร - บิดา มารดา ผู้ปกครองของหญิง 2357/2518 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรับเงินสินสอดตัดราคาจากที่ตกลงกับมารดาหญิงได้หรือไม่ 767/2517 ตกลงสู่ขอหญิงซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วจากพี่ชาย ถ้าหากไม่จ่ายค่าสินสอด พี่ชายฟ้องเรียกได้หรือไม่ 3442/2526 หญิงไม่มีบิดามารดา ตกลงจะให้ทรัพย์สินแก่หญิง เมื่อสมรสแล้วไม่ยอมโอนให้ หญิงฟ้องเรียกทรัพย์สินเองได้หรือไม่
3.ให้เมื่อไร - ให้ตอบแทนจะให้หลังจากสมรสแล้วก็ได้ 2237/2519 ทำสัญญากู้ไว้แทนเงินค่าสินสอดส่วนที่ยังขาด โจทก์ฟ้องเรียกได้หรือไม่ 1491/2506 ไม่มีเงินสดชำระค่าสินสอด นำที่ดินมือเปล่ามอบให้แทนเงิน ระบุท้ายสัญญาว่าจะไม่เอาคืน ชายตายก่อนจดทะเบียนสมรส โจทก์(ฝ่ายชาย)จะฟ้องเรียก ที่ดินคืนได้หรือไม่ ?
หลักเกณฑ์การสมรส 1. ต้องเป็นชาย - หญิง 2. สมัครใจ ม. 1458 3. ชั่วชีวิต ม. 150 4. มีคู่สมรสคนเดียว ฎ.157/2524 แปลงเพศเป็นหญิงแล้ว ร้องขอเปลี่ยนคำ นำหน้านามจากนายเป็นนางสาวได้หรือไม่ ฎ.3725/2532 หญิงแต่งงานตามประเพณีกับหญิงด้วยกัน ถ้าจะเลิกกันจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไร
HOMO SEXUAL ชายทำต่อชาย กม.อาญา รศ.127 ม.242 ลงโทษฐานทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ หรือทำด้วยสัตว์ จำคุก 3 เดือน - 3 ปี ปรับ 50-500 บาท LESBIAN หญิงทำต่อหญิง MASTURBATION ช่วยตนเองไม่มีความผิด
ฎ.421-422/2508 หมั้น แต่งงานตามประเพณี อยู่ด้วยกัน 3 วัน หญิงหลบหนี ชายฟ้องเรียกค่าเสียหาย ฐานผิดสัญญาหมั้น เรียกสินสอด ทองหมั้นและของหมั้นคืน หญิงต่อสู้คดีว่า เหตุที่ต้องหนีเพราะชายร่วมประเวณีอย่าง วิตถารเยี่ยงสัตว์ป่าแต่ก็ยังยินดีที่จะจดทะเบียนสมรสด้วย แต่โจทก์ไม่ยอมไปจดเอง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย เสียชื่อเสียง เสียความบริสุทธิ์ ถ้าท่านเป็นศาลจะตัดสินคดีนี้อย่างไร ?
กฎหมายลักษณะอาญา (รศ.127) มาตรา 242 ผู้ใดทำชำเรา ผิดธรรมดามนุษย์ ด้วยชายก็ดี หญิงก็ดี หรือทำชำเราด้วยสัตว์เดียรฉานก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือน ขึ้นไปจนถึงสามปี แลให้ปรับตั้งแต่ห้าสิบบาทขึ้นไปจนถึง ห้าร้อยบาท ด้วยอีกโสดหนึ่ง
เงื่อนไขการสมรส (ม.1448-1485) • 1. อายุ 17 ปี • 2. ไม่วิกลจริต • 3. มิใช่ญาติสนิทสืบสายโลหิต • 4. มิใช่ผู้รับกับบุตรบุญธรรม • 5. มิใช่เป็นคุ่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ • 6. หญิงหม้ายต้องรอ 310 วัน • 7. ผู้เยาว์ต้องให้บิดามารดายินยอม • 8. ชายหญิงต้องสมัครใจ • 9. ต้องจดทะเบียนสมรส 1448 1449 1450 1451 1452 1453 1454 1458 1457
การสมรสในต่างประเทศ (ม.1459) - คนไทยสมรสกับคนไทย หรือ - คนไทยสมรสกับคนต่างชาติ - ทำตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูต หรือกงสุลไทย จดทะเบียน หรือ - ทำตามกฎหมายประเทศนั้นก็ได้
การสมรสในพฤติการพิเศษการสมรสในพฤติการพิเศษ ม.1460 1. มีพฤติการณ์พิเศษ ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรือใน ภาวการณ์รบ , สงคราม 2. ชาย –หญิงแสดงเจตนาจะสมรสต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุ นิติภาวะ 3. จดแจ้งการแสดงเจตนาไว้เป็นหลักฐาน 4. ต่อมาได้จดทะเบียนภายใน 90 วัน ให้ถือวันแสดงเจตนา เป็นวันจดทะเบียน
ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภริยา ความสัมพันธ์ส่วนตัว เกิดสิทธิดังนี้ : 1.อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา (ปอ.276) 2.อุปการะฉันเลี้ยงดูกันและกัน (ม.1461) 3.ได้รับยกเว้นโทษทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ปอ.71) 4.สิทธิใช้ชื่อสกุลของสามี (พรบ.ชื่อบุคคล พ.ศ.2505 ม.12) 5.รับมรดก (ปพพ. ม.1629 ,1635 ) 6.เรียกค่าทดแทนฐานละเมิดทำให้ขาดไร้อุปการะ ม.443 วรรค 3 7.ถือสัญชาติตามสามี (พรบ.สัญชาติ 2508 ม.9) 8.เป็นผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ม.1463 9.จัดการสินสมรสร่วมกัน ม.1476
ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน ก.สินส่วนตัว ม.1471,1472 1. มีอยู่ก่อนสมรส 2. เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องประดับตามฐานะ เครื่องมือประกอบอาชีพ 3. รับมรดก หรือการให้โดยเสน่หา 4. ที่เป็นของหมั้น 5. ของที่ได้มาแทนที่สินส่วนตัว ถือเป็น สินส่วนตัวด้วยตาม ม.1472
ข. สินสมรส ม.1474 1. ได้มาระหว่างสมรส 2. ได้โดยพินัยกรรม หรือหนังสือยกให้ ระบุว่าเป็นสินสมรส 3. ดอกผลของสินส่วนตัว กรณีเป็นที่สงสัยว่าเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
การจัดการทรัพย์สินระหว่างสามี-ภริยาการจัดการทรัพย์สินระหว่างสามี-ภริยา ม.1465 1. ระบบทรัพย์สินตามสัญญา 2. ระบบทรัพย์สินตามกฎหมาย ถ้ามิได้ทำ สัญญา กันไว้ ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ให้ใช้บังคับตาม บทบัญญัติ ในหมวดนี้
สัญญาก่อนสมรส ม.1465 ,1466 1. ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อคู่สมรส และพยาน 2 คน 2. ต้องจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส 3. ข้อความไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี 4. ไม่ระบุให้ใช้ กฎหมายประเทศอื่น 5. เปลี่ยนแปลงยาก ต้องขออนุญาตจากศาล สัญญาระหว่างสมรส ม.1469 1. ตกลงกันเองระหว่างสมรส 2. ไม่ต้องจดแจ้งต่อนายทะเบียน 3. บอกล้างได้ง่ายในระหว่างสมรส หรือ ภายใน 1 ปีนับแต่ขาดการสมรส
สัญญาก่อนสมรส ม.1466 ฏีกา 3346/2532 บ.คาเธ่ย์ทรัสต์ โจทก์ สาลี่ - จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกัน - จำเลยที่ 2 (นางฟุ้ง – ร้องขอกันส่วน) บ.คาเธ่ย์ทรัสต์ ฟ้อง น.ส.สาลี่ และยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกัน นางฟุ้งภริยาจำเลยที่ 2 อ้างว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดไปเป็นสินสมรสระหว่าง ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ขอให้กันส่วนของตนคืนมา เพราะมีสัญญาก่อนสมรสตกลง กันว่าทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ก่อนสมรส ให้ตกเป็นสินสมรส นางฟุ้งจะมีสิทธิ์ขอกันส่วนของตนหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
สัญญาก่อนสมรส ม.1465,1466 ฎีกา 6711/2537 วราภรณ์ (โจทก์) เสวก (จำเลย) จำเลยสัญญาว่า บ้านและที่ดินของจำเลย ให้เป็นสินสมรส ได้จดแจ้งข้อตกลงนี้ไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียน ตาม ม.1466 เมื่อจำเลยไม่จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วม โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดิน ได้หรือไม่? จะขัดต่อ ม.1487 หรือไม่ ?
ฎีกา 309/2483 สัญญาก่อนสมรส นางส้มจีนกับ พวกจำเลย นายพัน ก่อนสมรส สามีทำทัณฑ์บนให้กับภริยาใหม่ว่า หากไปคืนดีกับ ภริยาเก่าให้สินสมรสตกได้แก่ ภริยาใหม่ฝ่ายเดียว - ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ - ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีตาม ม.150 หรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นเพียงผิดแผกแตกต่างกับที่กฎหมาย บัญญัติไว้ตาม ม. 151 ไม่เป็นโมฆะ
ผลของสัญญาก่อนสมรส ม.1468 ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ฎ.1082/2504 นายรวม นายกล่อม ที่ดินและเรือนเป็นของภริยาอยู่ก่อนสมรส แม้จะได้ทำสัญญา ก่อนสมรสว่าสามีจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของภริยาก็ตาม เมื่อภริยา ยอมให้สามีใส่ชื่อในใบไต่สวนเพื่อขอออกโฉนดว่าเป็นของสามี สามีเอา ไปจำนองผู้อื่นเอาเงินมาซื้อรถยนต์รับส่งคนโดยสารอันเป็นอาชีพของ สามี ภริยา ทำให้ผู้รับจำนองเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินเป็นของสามี การจำนองนั้นสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องบังคับจำนองยึดที่ดินแปลงนี้ได้
นิติกรรมที่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรสนิติกรรมที่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส ม.1476 1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 2. ก่อตั้งหรือทำให้ทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์สิ้นสุดลง 3. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี 4. ให้กู้ยืมเงิน 5. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของ ครอบครัว เพื่อการกุศล,สังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา 6. ประนีประนอมยอมความ 7. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย 8. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
ตัวอย่างคำถาม ตาม ม.1476 นายกุหลาบสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางมะลิ จะทำนิติกรรมต่อไปนี้ โดยไม่ได้ขอความยินยอมจากภริยา ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ? ข้อใดทำได้ให้กาเครื่องหมายถูกหน้าข้อนั้น ....... ก. ยกแหวนเพชรของเก่าที่ได้รับมรดกจากมารดาให้นางชงโค ....... ข. ค้ำประกันนายก้ามปูเข้าทำงาน ....... ค. กู้เงินนางจามจุรี 100,000 บาท เพื่อซ่อมบ้าน ....... ง. ให้นายดาวเรืองยืมเงิน 5,000 บาท ....... จ. เช่าซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคา 600,000 บาท
การเพิกถอนนิติกรรม ม.1480 1. เป็นสินสมรส 2. เฉพาะนิติกรรม 8 อย่างเท่านั้นที่ต้องขอความยินยอม 3. ทำโดยปราศจากความยินยอม 4. ฟ้องให้ศาลเพิกถอนภายใน 1 ปี นับแต่รู้และไม่เกิน 10 ปี นับแต่ทำนิติกรรม ข้อยกเว้น เพิกถอนไม่ได้ 1. บุคคลภายนอกสุจริต และเสียค่าตอบแทน 2. เป็นหนี้ร่วม 3. อีกฝ่ายให้สัตยาบันแล้ว