1 / 22

แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2555

แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2555. กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่. สรุปการดำเนินการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสาธารณสุข กรณีภัยหนาว

Download Presentation

แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาวแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2555 กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

  2. สรุปการดำเนินการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสาธารณสุขสรุปการดำเนินการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสาธารณสุข กรณีภัยหนาว ปีงบประมาณ 2554

  3. ช่วงวันที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยหนาว รายจังหวัด ปี 2554 ที่มา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 8 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 22 มค. 2554

  4. เกณฑ์การพิจารณาประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยหนาว ของกรม ปภ. พิจารณาจากอุณหภูมิต่ำสุดของแต่ละวัน ดังนี้ 1. อากาศเย็น (Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.29 องศาเซลเซียส 2. อากาศค่อนข้างหนาว (Moderately Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส 3. อากาศหนาว (Cold) อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 8.0 องศาเซลเซียส - 15.9 องศาเซลเซียส 4. อากาศหนาวจัด (Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียส ลงไป เมื่อสภาพอากาศหนาวโดยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15.9 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกินกว่า 3 วัน จะถือว่าในพื้นที่นั้นประสบภัยหนาวได้

  5. เป้าหมาย การปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาภัยหนาวด้านการแพทย์และสาธารณสุข • มีผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวไม่เกินจังหวัดละ 1 คน ในจังหวัดที่ประกาศเป็น • พื้นที่ประสบภัยหนาว • ลดโรคติดต่อสำคัญ 6 โรค ในช่วงหน้าหนาว (พฤศจิกายน 2553– • กุมภาพันธ์ 2554) ให้น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา • กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากผลกระทบภัยหนาว • กลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ: เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, กลุ่มผู้สูงอายุ, • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด • โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น

  6. ผลการเฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ 6 โรค • สถานการณ์เฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญผลกระทบภัยหนาว 6 โรค ได้แก่ • ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม สุกใส หัด หัดเยอรมัน และอุจจาระร่วง • ตั้งแต่ 24 ตค. 2553-26 กพ. 2554 ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน • พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 51,134 ราย ซึ่งน้อยกว่าจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันที่รายงานในปีงบประมาณ 2553 • โรคที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ โรคอุจจาระร่วง 39,639ราย รองลงมา คือ ปอดบวม 6,852ราย โรคสุกใส 2,535ราย ไข้หวัดใหญ่ 2,070ราย โรคหัด 36 ราย และโรคหัดเยอรมัน 2 ราย และไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว

  7. จำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อที่เฝ้าระวัง 6 โรคสำคัญ ในภาวะภัยหนาว ระหว่างวันที่ 24 ตค. 53 - 26 กพ. 54

  8. สถานการณ์ผู้เสียชีวิตสถานการณ์ผู้เสียชีวิต • มีการแจ้งสงสัยผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวจำนวน 5 ราย (เชียงราย 2 ราย เชียงใหม่ 1 ราย ลำปาง 1 ราย และแพร่ 1 ราย) • ตรวจสอบยืนยันมีผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวเพียง 1 ราย ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 • (คํานิยามการเสียชีวิตจากภัยหนาวโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค หมายถึง การเสียชีวิตในหรือนอกที่พักอาศัย บ้าน อาคาร สถานที่โดยไม่ได้มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องนุ่งห่มกันหนาวอย่างเพียงพอ ในจังหวัดที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยหนาว)

  9. 3 พฤติกรรมเสี่ยงในช่วงฤดูหนาวที่ต้องหลีกเลี่ยง • ไม่ดื่มสุราแก้หนาว: ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ทำให้ร่างกายร้อนวูบวาบ • กดประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึมและหมดสติโดยไม่รู้ตัว • 2) ไม่นอนในที่โล่งแจ้งโดยไม่มีสิ่งปกคลุมร่างกาย โดยเฉพาะคนเมาที่มักเผลอ • หลับหรือหมดสติ • 3) ไม่ผิงไฟในที่อับอากาศ: ทำให้ร่างกายสูดดมก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จาก • ควันไฟเข้าสู่ทางเดินหายใจ จนขาดออกซิเจนและสำลักควันไฟเสียชีวิตได้

  10. การสนับสนุนดำเนินการของ สคร.10 ชม. • เฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อสำคัญ 6 โรค • 2.ค้นหา รับแจ้ง และตรวจสอบยืนยันผู้เสียชีวิตจากภัยหนาว • 3.สนับสนุนข้อมูลวิชาการ/มาตรการ • 4.สนับสนุนทีม SRRT ในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค • 5.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสื่อมวลชนและหน่วยงานสาธารณสุข • 6.จัดเตรียมและสนับสนุนเวชภัณฑ์ในการป้องกันควบคุมโรคในภาวะฉุกเฉิน • ตามนโยบายของกรมควบคุมโรค

  11. การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2555

  12. พื้นที่ประกาศประสบภัยพิบัติภัยหนาว ปีงบประมาณ 2555

  13. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยหนาวด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2555 • เป้าหมาย:ลดโรคติดต่อสำคัญ 4 โรค ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ • ปอดบวม หัด และสุกใส ในช่วงเดือน พย. 2554 - กพ.2555 • ให้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา • การดำเนินงาน:แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ • ก่อนประกาศภัยหนาว และระหว่างประกาศภัยหนาว • การดำเนินงาน: ประกอบด้วย 3 มาตรการ 8 กิจกรรม

  14. 1. ระยะก่อนประกาศภัยหนาว (3 มาตรการ 8กิจกรรม) • 1.ด้านการบริหารจัดการ • 1.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ • 2.การสื่อสารสั่งการถึงผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ • 2.การป้องกันโรคล่วงหน้า • 1.สำรวจจำนวนและรายชื่อประชาชน กลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม • 2.สำรวจความพร้อมของเครื่องป้องกันความหนาวของประชาชน กลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม • 3.สื่อสารความเสี่ยงโรคติดต่อสำคัญและกิจกรรมป้องกันภัยหนาว • 3.การเตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาและควบคุมโรค • 1.การเตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ • 2.การเตรียมความพร้อมด้านการส่งต่อและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 3.เฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ ๔ โรค คือ ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด และสุกใส

  15. 2. ระยะประกาศภัยหนาว (3 มาตรการ 8กิจกรรม) • 1.ด้านการบริหารจัดการ • 1.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยหนาวด้านการแพทย์และสาธารณสุข • 2. สื่อสารสั่งการถึงผู้เกี่ยวข้องและประเมินผล • 2.การป้องกันโรคเชิงรุก • 1. การเยี่ยมบ้านประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม • 2.ประสานจัดหาเครื่องป้องกันภัยหนาวให้เพียงพอและทันเหตุการณ์สำหรับ • ประชากรกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม • 3.สื่อสารความเสี่ยงโรคติดต่อสำคัญและกิจกรรมป้องกันภัยหนาว เช่น • ออกกำลังกาย อาหาร สมุนไพร เป็นต้น

  16. 2. ระยะประกาศภัยหนาว (3 มาตรการ 8กิจกรรม) • 3.การดูแลรักษาและควบคุมโรค • 1.จัดระบบการรักษาแบบคลินิกพิเศษในสถานพยาบาล • 2.จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการรักษาผู้เจ็บป่วยในพื้นที่ที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ยากลำบาก • 3.ดำเนินการเฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ ๔ โรค • คือ ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด และสุกใส วิเคราะห์สถานการณ์โรคทุกวัน • ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคเมื่อมีรายงานการระบาดของโรคติดต่อสำคัญ

  17. แนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงแนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง • รู้เตรียม : 5 สิ่งควรเตรียม • รู้สะอาด : 5 สิ่งควรสะอาด • รู้ระวัง : 5 สิ่งควรทำ • รู้ระวัง : 5 สิ่งไม่ควรทำ

  18. แนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงแนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง • รู้เตรียม : 5 สิ่งควรเตรียม • 1.เตรียมเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว • 2.เตรียมยารักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็น • 3.เตรียมของใช้ที่จำเป็น • 4.เตรียมฟังข้อมูลข่าวสารเรื่องการประกาศภัยหนาว • 5.ใน ปชก. กลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เด็กเล็ก) ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี

  19. แนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงแนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง • รู้สะอาด : 5 สิ่งควรสะอาด • 1.ทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว • 2.ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย • 3.ล้างมือให้สะอาด • 4.มีสุขอนามัยที่ดี • 5.สวมหน้ากากอนามัย

  20. แนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงแนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง • รู้ระวัง : 5 สิ่งควรทำ • 1.รักษาความอบอุ่นของร่างกาย • 2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ • 3.รักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย • 4.เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพลังงาน • 5.เมื่อเจ็บป่วยให้รีบมาพบแพทย์

  21. แนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงแนวทางสำหรับการประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง • รู้ระวัง : 5 สิ่งไม่ควรทำ • 1.ดื่มสุราเพื่อแก้หนาว • 2.นอนในที่โล่งแจ้งลมโกรก • 3.ผิงไฟในที่อับอากาศ • 4.นำเด็กเล็กเข้าใกล้ควันไฟและการห่มผ้าคลุมศีรษะจนหมด • 5.คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

  22. สวัสดี

More Related