1 / 9

 ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2553

การประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “ โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรค 2 รัฐธรรมนูญ 2550 ”.  ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2553.

rozene
Download Presentation

 ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2553

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง“โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรค 2 รัฐธรรมนูญ 2550”  ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2553 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  2. โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการวินิจฉัยโครงการกิจการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงด้านสุขภาพครั้งที่ 4/2553 วันที่ 20 มกราคม 2553 ได้ให้นิยามโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพหมายถึง “โครงการหรือกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติหรือสุขภาพจนไม่สามารถฟื้นฟูสภาพหรือทดแทนหรือชดเชยได้อย่างเหมาะสม” กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  3. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการพิจารณา • จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของโรงไฟฟ้า เนื่องจาก โรงไฟฟ้าแต่ละโรงจะมีระบบหรืออุปกรณ์ต่างกันไป เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินอาจจะมีหรือไม่มีท่าเทียบเรือก็ได้ หากต้องก่อสร้างท่าเทียบเรือ ก็จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในส่วนของท่าเทียบเรือ • พิจารณาร่วมกับแนวทาง และความเห็นที่ได้มีการประชุมกับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  4. การรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการการรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าได้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรง คุณวุฒินักวิชาการ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ในหลักการทั่วไป ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ประกอบด้วย • ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา • หน่วยงานภาครัฐ • องค์กรอิสระ • ผู้ผลิตไฟฟ้า • กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  5. การรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการการรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ ที่ประชุมมีความเห็น ดังนี้ • โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าไม่น่าจะจัดอยู่ในประเภทที่มีผลกระทบรุนแรงยกเว้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ • การกำหนดหลักเกณฑ์รุนแรงควรต้องมองในหลายมิติ รวมถึงเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมมลพิษ • ปัจจุบันกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดอยู่แล้ว จึงควรปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพของระบบตรวจสอบและบังคับใช้ • ในการทำรายงาน EIA มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว • การกำหนดโครงการจำนวนมากให้เป็นโครงการที่มีผลกระทบรุนแรงฯ อาจจะทำให้ความสำคัญของโครงการที่รุนแรงจริงๆลดลงไป • ควรกำหนดกฎระเบียบแนวทางในการดำเนินการจัดทำ EHIA และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและองค์กรอิสระรวมถึงแนวทางการตัดสินใจในกรณีที่ความเห็นแต่ละภาคส่วนเกิดความขัดแย้งกันให้ชัดเจนและนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  6. ข้อเสนอขอปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมข้อเสนอขอปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม • โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) ที่มีกำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ของปริมาณพลังความร้อนที่ผลิตได้ (Heat Output) ขึ้นไปหรือที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งมากกว่า 150 เมกะวัตต์ยกเว้นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) และโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ความร้อนที่เหลือจากกระบวนการอื่นกลับมาใช้ประโยชน์ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  7. เหตุผลในการปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเหตุผลในการปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เหตุผลที่ยกเว้นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติน้ำมันดีเซล และพลังงานความร้อนที่เหลือเป็นเชื้อเพลิง • ก๊าซธรรมชาติถือว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาดมีอัตราการระบายมลสารที่ต่ำ • โรงไฟฟ้าประเภท Combined Cycle และโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจะมีอัตราการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ • การนำพลังงานความร้อนเหลือจากกระบวนผลิตเป็นพลังงานที่สะอาดและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต • โรงไฟฟ้าจะเดินเครื่องโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักและจะเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซลสำหรับกรณีทดสอบหรือกรณีฉุกเฉินเท่านั้นและจะไม่มีโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องผสมระหว่างน้ำมันเตากับถ่านหินร่วมกับก๊าซธรรมชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  8. เหตุผลในการปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเหตุผลในการปรับแก้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เหตุผลในการกำหนดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นๆที่ 150 เมกะวัตต์ • จากการศึกษาการทำ HIA ในนานาประเทศพบว่า • ไม่มีการกำหนดให้โรงไฟฟ้าทำ HIA แต่จะกำหนดให้โรงงานที่มีการเก็บกักสารเคมีที่เป็นอันตรายบางชนิดจะต้องทำ HIA เท่านั้น • มีการกำหนดขนาดสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะต้องทำ EIA ดังนี้ • ประเทศแคนาดาโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 200 เมกะวัตต์ • ประเทศญี่ปุ่นโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 150 เมกะวัตต์ • สหภาพยุโรปโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 300 เมกะวัตต์ของปริมาณพลังงานความร้อนที่ผลิตได้ (ประมาณ 150 เมกะวัตต์ขึ้นกับประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้านั้นๆ) กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  9. ขอบคุณ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

More Related