340 likes | 567 Views
ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11. โดย นายทีปรัตน์ วัชรางกูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 6 กรกฎาคม 2555. หัวข้อการนำเสนอ. สรุป ทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 11
E N D
ทิศทางการพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 โดย นายทีปรัตน์ วัชรางกูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 6 กรกฎาคม 2555
หัวข้อการนำเสนอ • สรุปทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 11 • ทิศทางการพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • สภาพทั่วไป • สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ศักยภาพและโอกาส ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา • ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง • ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง
สรุปทิศทางแผนฯ ๑๑ ความเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องเผชิญ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ๖ ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ๒ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็ก วัยแรงงานลดลง พันธกิจ มีความเสี่ยงด้านความมั่นคง ๖ ความเสี่ยง • สร้างสังคมเป็นธรรม ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข • พัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง • พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพบนฐานความรู้และการสร้างสรรค์ของคนไทย สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน พร้อมทั้งปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ๔ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ฐานทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรง ค่านิยมดีงามของไทยเสื่อมถอย ๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคและภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้าง ๖ ภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ๖ ภูมิคุ้มกัน เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ ประเทศไทยมีความเป็นเอกราช เป็นกลาง และเป็นพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ • ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคมและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ การประกอบอาชีพ การเข้าถึงแหล่งทรัพยากร และกระบวนการยุติธรรม ลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชน ภาพลักษณ์การทุจริตคอรัปชั่นดีขึ้น • คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีขึ้น และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข้งมากขึ้น • เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๕ ต่อปี อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย ผลิตภาพการผลิตรวมสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ รักษาปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้พอเพียงต่อความต้องการของผู้บริโภค และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อมูลค่าการผลิตในประเทศ สร้างระบบเตือนภัยรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ • ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข ดัชนีความสงบสุข สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๑๐ กับกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ ๑๐ สัดส่วนแรงงานนอกระบบที่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม การถือครองที่ดินของกลุ่มคนต่างๆ คดีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐต่อ ๑๐,๐๐๐ ครัวเรือน คดีในศาลปกครองต่อ ๑๐,๐๐๐ ครัวเรือน และดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติมิชอบ • จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา อัตราเพิ่มผลิตภาพแรงงาน อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และดัชนีความอบอุ่นของครอบครัว • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ผลิตภาพการผลิตรวม อันดับความสามารถในการประกอบธุรกิจ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ ร้อยละขององค์กรชุมชนที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อองค์กรชุมชนทั้งหมด
แนวทางการบริหารจัดการแผนฯ 11 สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมเข้าร่วมในการผลักดันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ 3 4 5 2 6 1 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนระดับอื่นๆ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนแผนของภาคีการพัฒนาต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพกลไกรับผิดชอบการขับเคลื่อนแผนฯ ที่ชัดเจน สามารถขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ในระดับประเทศและระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างบทบาทของทุกภาคส่วนให้สามารถขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • สภาพทั่วไป • สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ศักยภาพและโอกาส ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา • ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง • ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัด
สภาพทั่วไปภาคกลาง ภาคกลางประกอบด้วย 25 จังหวัด 6 กลุ่มจังหวัด • ขนาดพื้นที่ 102,336 ตารางกิโลเมตร หรือ 63.96 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของประเทศ • ประชากร 15.74 ล้านคน (ปี 53) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของประเทศ (63.9 ล้านคน) • ความหนาแน่นของประชากร 154 คนต่อตารางกิโลเมตร หนาแน่นมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (124 คนต่อตารางกิโลเมตร) • ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 29.5 ของพื้นที่ภาค และมีลุ่มน้ำหลัก 10 ลุ่มน้ำ : เจ้าพระยา ป่าสัก ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ฯลฯ • โครงสร้างพื้นฐาน • ถนน :พหลโยธิน มิตรภาพ สุขุมวิท • รถไฟ:สายเหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้ และแม่กลอง • ท่าเรือ:แหลมฉบัง มาบตาพุด ศรีราชา ประจวบฯ • สนามบิน :สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ภาคกลางมีบทบาทต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า GRP 47.7 % ของ GDP แต่มีปัญหาสำคัญ 2 ประการ ๑ ความไม่สมดุลและยั่งยืนของการพัฒนา • เศรษฐกิจพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรม ที่อาศัยทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี มีภาวะความเสี่ยงจากผลกระทบภายนอกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเสื่อมโทรม ๒ มีความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาและรายได้ระหว่างพื้นที่
เศรษฐกิจเติบโตสูง โดยพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก • GRP 3,944,764ล้านบาท(ณ ราคาประจำปี) • 2,033,368 ล้านบาท (ณ ราคาคงที่) • Growth (ปี48-52) = 4.5 สูงกว่าประเทศ (3.0 %) • โครงสร้างการผลิตหลัก อุตสาหกรรม 60.9 % ขนส่งฯ 8.7 % การค้า 6.7 % เกษตร 5.3 % • รายได้ต่อหัว 248,523 บาทสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ (135,145 บาท) • ฐานเศรษฐกิจหลัก สมุทรปราการ 17.3 % อยุธยา 12.8 % ชลบุรี 11.7 % ระยอง 10.6 %
สถานการณ์ด้านสังคม สภาพสังคมโดยทั่วไปของภาคกลางมีลักษณะผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตชนบทแบบสังคมเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์กับสังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตทางการค้า การขยายตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรม สังคมชนบทเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง สังคมเอื้ออาทรไปสู่การดำรงชีวิตแบบตะวันตก ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่ำ ครอบครัวอ่อนแออัตราหย่าร้างสูง
โครงสร้างประชากร • มีแนวโน้มจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โครงสร้างประชากร • ภาคกลางกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในระยะ 10 ปีข้างหน้า ภาคกลางจะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 17.0 ในปี 2563 ขณะที่สัดส่วนวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงภาระพึ่งพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน • สัดส่วนวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการผลิตของภาค ดังนั้น จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะกำลังแรงงาน เพื่อให้สามารถรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้
สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม • ทรัพยากรน้ำ • ภาคกลางโดยรวมมีทรัพยากรน้ำน้อยลง เนื่องจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่จำนวน 11 อ่าง สามารถเก็บกักน้ำได้ 25,654 ล้านลบ.ม.ในปี 2553 และลดลงเหลือ 21,095 ล้านลบ.ม.ในปี 2553 โดยที่ภาคตะวันออกยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว และการเพิ่มขึ้นของชุมชนอย่างต่อเนื่อง • ทรัพยากรดิน • ผลจากการขยายตัวของชุมชม รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้พื้นที่ดินดี หรือพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตรลดลง • สภาพดินยังคงมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม กล่าวคือ พื้นที่ 34.06 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 53.2 มีลักษณะและคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต โดยเป็นพื้นที่ดินตื้น 9.96 ล้านไร่ พื้นที่ดินเปรี้ยวจัด 5.32 ล้านไร่ และพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งพบชั้นดานเกลือ หรือดินเค็มชายทะเลอีก 0.62 ล้านไร่ • ทรัพยากรป่าไม้ • พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นจาก 17.77 ล้านไร่ในปี 2549 เป็น 18.87 ล้านไร่ในปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 29.5 ของพื้นที่ภาค แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ 10 ว่าพื้นที่ป่าไม้ควรมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 33 ของประเทศ • ทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง • มีการกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะทาง 201.8 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23.3ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งหมด • สมุทรปราการที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะรุนแรงมากที่สุดถึง 30 กิโลเมตร
ขยะมูลฝอย/ของเสียอันตรายขยะมูลฝอย/ของเสียอันตราย • ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 8,396 ในปี 49 เป็น 8,745 ในปี 51 • กากของเสียอันตรายมีประมาณ 1.26 ล้านตัน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มจังหวัดที่เป็นฐานอุตฯของภาคกลาง • คุณภาพน้ำ • แม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่เสื่อมโทรม โดยเฉพาะเจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนกลางและตอนล่าง เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ และยังมีน้ำเสียจากโรงงานอุตฯและฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำโดยไม่มีการบำบัด • คุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่อ่าวไทยตอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการและปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร มีคุณภาพน้ำในระดับเสื่อมโทรม • คุณภาพอากาศ • พื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ บริเวณมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสารอินทรีย์ระเหยง่าย และฝุ่น และพื้นที่ประสบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก คือสระบุรี ราชบุรี และสมุทรปราการ • ภัยธรรมชาติ • ภาคกลางได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และภาวะน้ำหลากจากภาคเหนือในฤดูฝน • น้ำท่วม ปี 54 มีพื้นที่ที่ประสบภัย 15 จังหวัด พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย7.2ล้านไร่ นิคมอุตสาหกรรมเสียหาย 7 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 1 ล้านล้านบาท ด้านสิ่งแวดล้อม
บริบทการเปลี่ยนแปลงที่กระทบภาคกลางบริบทการเปลี่ยนแปลงที่กระทบภาคกลาง • เร่งยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด • ยกระดับคุณภาพแรงงานในภาคการผลิตโดยเร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการผลิตที่ทันสมัย ปลอดภัย และแข่งขันได้ กฎ กติกาใหม่ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี • จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการสร้างแรงงานในสาขาต่างๆให้มีความรู้และทักษะด้านการทำธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มศก. และการสร้างประชาคมอาเซียน • ความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีมากขึ้น จึงควรให้ความสำคัญและมีความตื่นตัวในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการพัฒนาอาชีพและการดูแลสุขภาพ • แรงงานภาคเกษตรจะขาดผู้รับช่วงต่อ แรงงานวัยหนุ่มสาวจะทำโรงงานและงานธุรกิจในเขตเมืองเป็นหลัก จำเป็นต้องมีการพิจารณาแนวทางในการปรับวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรเชิงธุรกิจแบบสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนให้ภาคกลางเป็นแหล่งการเกษตรที่สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างรายได้ให้กับประเทศ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและพลังงาน • ภัยพิบัติ/ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม
ฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ • ศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ • ประตูสู่เศรษฐกิจโลกและศูนย์กลางการบริการธุรกิจและการพาณิชย์นานาชาติ บทบาทการพัฒนาภาคกลาง
ทิศทางการพัฒนาภาคกลางทิศทางการพัฒนาภาคกลาง 4 เป้าประสงค์ 5 แนวทาง แนวทางการพัฒนา เป้าประสงค์ พัฒนาฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตโดยเน้นการใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ทั้งที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ และเสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกร ยกระดับคุณภาพและกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่มบนพื้นฐานแนวคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งต่อยอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีสุขภาพแข็งแรงและสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้พึ่งตนเองได้มากขึ้น พัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการและพนักงานในการทำธุรกิจการค้าข้ามประเทศ ปกป้อง และเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง • ประชาชนมีสุขภาพดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง • เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ สมดุล ผลิตภาพการผลิตขยายตัวต่อเนื่อง • มีสภาพแวดล้อมดี สะอาด ทรัพยากรฯอุดมสมบูรณ์ รองรับการดำรงชีพของคนในพื้นที่
กลางบน ๒(ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง) กลางบน ๑(นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สระบุรี) • พัฒนาเมืองน่าอยู่ • การผลิตอาหารสะอาดและผลิตพืชพลังงาน • ภาคอุตฯมีกระบวนการผลิตสะอาด • ท่องเที่ยวตามแนวศก.สร้างสรรค์ • พัฒนา&ฟื้นฟูแม่น้ำสายหลัก • แก้ปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ • พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน • พัฒนาความเข้มแข็งชุมชน&ท้องถิ่น กลางล่าง ๑(นครปฐม ราชบุรี กาญฯ สุพรรณฯ) • พัฒนาพื้นที่เมืองเป็นเมืองน่าอยู่ • การผลิตอาหารสะอาด/เกษตรเชิงธุรกิจ • ภาคอุตฯมีกระบวนการผลิตสะอาดเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม • ท่องเที่ยวตามแนวศก.สร้างสรรค์ • พัฒนา&ฟื้นฟูแม่น้ำสายหลัก • พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน • พัฒนาความเข้มแข็งชุมชน&ท้องถิ่น • ฐานผลิตสินค้าเกษตร และอุตฯเกษตรที่มีคุณภาพ • ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ • พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน • พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก • อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร & สวล. ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง กลางตอนกลาง(ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนฯ สมุทรปราการ สระแก้ว) กลางล่าง ๒(เพชรบุรี ประจวบฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม) • จัดระเบียบชุมชนเมือง • ปรับปรุงและขยายระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง • ส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรที่รักษาระบบนิเวศ ไม่ทำลายสวล. • ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการผลิตสินค้าอุตฯ • ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว • อำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน & ท่องเที่ยว บริเวณเขตศก.ชายแดน • อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร &สวล. • พัฒนาอุตฯให้เป็นมิตรกับสวล. • ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ • พัฒนาเป็นฐานผลิตสินค้าเกษตร &อุตฯเกษตรที่มีคุณภาพ • วางแผนและจัดระเบียบการใช้ที่ดิน • จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว • ป้องกัน/แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง • พัฒนาแหล่งน้ำทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ตะวันออก(ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) • พัฒนาแหล่ง/กิจกรรมท่องเที่ยว • แก้ปัญหาราคาผลผลิตเกษตรตกต่ำ • พัฒนาเมืองอุตฯเชิงนิเวศ&อุตฯสะอาด • อำนวยความสะดวกด้านการค้า ลงทุน &ท่องเที่ยว บริเวณเขตศก.ชายแดน • อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากร&สวล.
ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง
ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญที่ควรนำไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดประเด็นการพัฒนาที่สำคัญที่ควรนำไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. การเติบโตสีเขียว : การพัฒนาที่มุ่งสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และความเป็นธรรมทางสังคม • พัฒนาภาคเกษตร โดยปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ) • การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • การพัฒนาพลังงานเพื่อการเติบโตสีเขียว (พลังงานทดแทน) • ฯลฯ 2. การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน • พัฒนาความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน • เตรียมความพร้อมพัฒนาบุคลากร • พัฒนามาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ • ฯลฯ 3. การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ • การวางผังเมือง • การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • การเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉิน • ฯลฯ
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 • การฟื้นฟูชีวิตให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสาขาเศรษฐกิจหลักของกลุ่ม • การทำให้ภาคเกษตรสะอาดปราศจากสารพิษตกค้าง • การควบคุมและจัดการไม่ให้มีมลพิษจากกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไปทำลายสภาพแวดล้อม • การจัดการกับพฤติกรรมชุมชนทั้งในระดับครัวเรือนและสถานประกอบการ/องค์กร ไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ • การเฝ้าระวังและฟื้นฟูคุณภาพในแม่น้ำให้มีระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว • ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี • คุณภาพของลำน้ำสายหลักหล่อเลี้ยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่ม
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 • กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยว และการค้าชายแดนเชื่อมโยงโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) • แหล่งผลิตสินค้าเกษตร • แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ • พื้นที่ชายแดนติดกับสหภาพพม่า • แหล่งป่าไม้สำคัญของภาคกลาง
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 • ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเข้มข้นเพื่อเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร การแปรรูปการเกษตรและประมง และอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานที่โดดเด่น • ภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ • การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมและภาคครัวเรือนโดยเฉพาะน้ำเสียของแม่น้ำสายหลักและขยะ • ความท้าทายต่อการพัฒนาอันเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลางกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง • มีพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯและชายฝั่งทะเลตะวันออก และเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอื่น ตามเส้นทาง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว อรัญประเทศ ปอยเปต และเสียมเรียบ • มีระบบชลประทานที่ดีและสภาพธรรมชาติเหมาะแก่การเกษตร เช่น กุ้ง ไก่ สุกร ข้าว มะม่วง • เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง สิ่งทอ และอาหารแปรรูป • มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่หลากหลาย
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก • มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • เป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศโดยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลั่นน้ำมัน เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเลคโทรนิคส์ และเครื่องไฟฟ้า • แหล่งผลิตผลไม้เพื่อการส่งออก • แหล่งการทำประมงน้ำลึกและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง • แหล่งการค้าอัญมณีที่มีชื่อเสียงของประเทศ • มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
ขอบคุณ สามารถ Download เอกสารทิศทางการพัฒนาภาคในระยะแผนฯ 11 ได้ที่ www.nesdb.go.th 41
แนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคมแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคม 1 4 เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย • สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก และระบบคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม • สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และความเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคม 3 2 การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิพึงมีพึงได้ การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วน • สร้างศักยภาพให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง • สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการและสวัสดิการทางสังคมของผู้ด้อยโอกาสอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
แนวทางการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนแนวทางการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมอนามัยเจริญพันธ์ที่เหมาะสมในทุกช่วงวัย เพิ่มโอกาสการจ้างงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เท่าเทียมกันระหว่างเมืองและชนบท สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคม สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับผู้เรียน พัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ พัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมในการบ่มเพาะคนให้มีคุณภาพ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาต่อยอดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย เสริมสร้างทักษะให้คนไทยมีจิตสาธารณะ มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ และสร้างจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม
แนวทางความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 2 3 5 1 7 4 6 สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็งภาคเกษตร ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
แนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ
แนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ
การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมการสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างอำนาจ ต่อรองทางเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จุดเน้นของยุทธศาสตร์ “ให้ความสำคัญกับ 3 วง ของกรอบความร่วมมือ” รวมทั้งประเด็นการพัฒนา ร่วมและปัจจัยสนับสนุน • อนุภูมิภาค (GMS, IMT-GT, ACMECS, BIMSTEC) • อาเซียน (ASEAN) • อาเซียน+3, อาเซียน+6, เอเปค, และอื่นๆ 1 2 3
แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5 3 1 4 8 7 6 2 การยกระดับขีดความสามารถในการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤติภาวะโลกร้อน เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ การควบคุมและลดมลพิษ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ
การประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยงและการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ 6 ความเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องเผชิญ การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก การบริหารภาครัฐอ่อนแอ โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล ค่านิยมที่ดีงามของไทยเสื่อมถอย ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงในทุกระดับ และภัยคุกคามต่างๆ มีแนวโน้มรุนแรงและผลกระทบเพิ่มขึ้น กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก เช่น การค้าและการลงทุน ด้านการเงิน สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลางรวมทั้งเอเชีย การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานจะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การก่อการร้ายสากลเป็นภัยคุกคามประชาคมโลก สร้าง 6 ภูมิคุ้มให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ ประเทศไทยมีความเป็นเอกราช เป็นกลาง และเป็นพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ภาคการเงินเข้มแข็ง การคลังขาดสมดุล ภาคเกษตรต้นทุนสูง ขาดแคลนพื้นที่และแรงงาน อุตสาหกรรมพึ่งต่างประเทศ บริการและท่องเที่ยวมีโอกาส ด้านสังคม เปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ สังคมเครือญาติสู่ปัจเจก วัฒนธรรมไทยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมต่างชาติ ระดับการศึกษาและสุขภาพดีขึ้น CSR เพิ่มขึ้น แต่ IQ EQ ของเด็ก ผลิตภาพแรงงาน และความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหา กลุ่มชนชั้นกลางยังมีสัดส่วนน้อย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสื่อมโทรม รุนแรง ภาวะโลกร้อนกระทบต่อการเกษตร ยากจนและย้ายถิ่น การบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น พึ่งพลังงานจากต่างประเทศ ภาค พื้นที่ และชุมชน กรุงเทพฯ และภาคกลางมีบทบาทสูง การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองเร็วขึ้น การกระจายอำนาจส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น ความมั่นคงของประเทศ ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ต้องรักษาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน