600 likes | 762 Views
โครงการสัมมนาการจัดการความรู้ การดำเนินการด้านการเงินการคลัง ปีงบประมาณ 2554 ครั้งที่ 1. กองคลัง สำนักงานอธิการบดี. วัตถุประสงค์. เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้การดำเนินการด้านการเงินการคลัง มีความถูกต้องตามระเบียบ.
E N D
โครงการสัมมนาการจัดการความรู้การดำเนินการด้านการเงินการคลังปีงบประมาณ 2554ครั้งที่ 1 กองคลัง สำนักงานอธิการบดี
วัตถุประสงค์ • เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน • เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น • เพื่อให้การดำเนินการด้านการเงินการคลัง มีความถูกต้องตามระเบียบ
หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • ปฏิทินการบริหารงบประมาณแผ่นดิน / เงินรายได้ มก. ประจำปีงบประมาณ 2554 • การกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่าย เงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ • เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) ด้านการเงินการคลัง 4. เรื่องอื่นๆ
ปฏิทินการบริหารงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2554 • กำหนดขึ้นเพื่อให้การบริหารงบประมาณแผ่นดิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เกิดวินัยทางการคลัง และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรการและแนวทาง การเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
สาระสำคัญ • กำหนดอัตราการเบิกจ่ายของหน่วยงานในภาพรวม และงบลงทุนเป็นรายไตรมาส เช่น ไตรมาส 1 เบิกจ่ายภาพรวม ร้อยละ 20 เบิกจ่ายงบลงทุน ร้อยละ 10 • กำหนดวันสุดท้ายการขอขยายเวลาเบิกจ่าย เงินงบประมาณปี 2552-2553 กรณีเบิกจ่ายไม่ทัน 31 มี.ค. 2554 (21 มี.ค. 2554)
สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการขออนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการ / โอนเงินเหลือจ่ายปี 2554 (29 ก.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายรับเรื่องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณ 2554 และรับเรื่องขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2552-2553 กรณีเบิกจ่ายไม่ทัน 30 ก.ย. 2554 (25 ส.ค. 2554)
สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการรับใบสำคัญ BG01 / ระยะเวลาการรับใบสำคัญที่ได้ขอผ่อนผัน • กำหนดวันสุดท้ายการรับใบสำคัญเงินงบประมาณแผ่นดิน ประเภทงบประมาณเบิกแทน , งบกลางจากสำนักงบประมาณ • กำหนดวันสุดท้ายการจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล / ค่าเล่าเรียนบุตร กรณีรับเป็นเงินสด (31 ส.ค. 2554)
ปฏิทินการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ มก. • กำหนดขึ้นเพื่อให้การบริหารงบประมาณ เงินรายได้ของหน่วยงานเป็นไปตามระเบียบ มก. ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 และข้อบังคับเกี่ยวกับ การบริหารงบประมาณเงินรายได้ พ.ศ.2545
สาระสำคัญ • กำหนดการจัดส่งรายงานการเงินต่างๆ ของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน และวิทยาเขต ให้มหาวิทยาลัย 1. รายงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน - รายงานเงินคงเหลือประจำวัน (รายสัปดาห์) - รายงานการจ่ายเงินรายได้กรณีวงเงินเกินครั้งละ 5 ล้านบาท กำหนดส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป เพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัย - รายงานผลการแจ้งยอดเงินคงเหลือเงินรายได้หน่วยงาน กำหนดส่งภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดไป เช่น เดือน ต.ค. 53 กำหนดส่ง 30 พ.ย. 53
สาระสำคัญ - รายงานการเงินรายไตรมาสของหน่วยงาน กำหนดส่งภายในสิ้นเดือนถัดไปหลังสิ้นสุดแต่ละไตรมาส เช่น ไตรมาส 1 กำหนดส่ง 31 ม.ค. 2554 - รายงานงบการเงินโครงการพิเศษ ปีงบประมาณ 2553 กำหนดส่ง 31 ม.ค. 2554 (120 วันหลังสิ้นปีงบประมาณ)
สาระสำคัญ 2. รายงานระดับวิทยาเขต - รายงานการเงิน / งบทดลองของวิทยาเขต เพื่อจัดทำรายงานการเงินรวมของมหาวิทยาลัย กำหนดส่ง ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป - รายงานการจ่ายเงินรายได้ กรณีวงเงิน เกินครั้งละ 5 ล้านบาท - รายงานการเงินรายไตรมาสของหน่วยงาน
สาระสำคัญ • กำหนดการจัดส่งรายงานสรุปการจ่ายเงินค่าจ้างและเงินสมทบ ส่วนลูกจ้าง เพื่อออกหนังสือรับรองการนำส่งเงินสมทบเงินประกันสังคม และรายงานสรุปการจ่ายเงินค่าตอบแทนและภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อออก หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (กำหนดส่งรายงาน 1-31 ม.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายการขอขยายการกันเงินเหลื่อมปีงบประมาณเงินรายได้ ปีงบประมาณ 2553 และการส่งใบสำคัญการเบิกจ่ายกรณีขอกันเงินเหลื่อมปี ปีงบประมาณ 2553 (31 มี.ค. 2554)
สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการขอกันเงินเหลื่อมปีงบประมาณ เงินรายได้ พ.ศ.2554 (31 ส.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายการจัดส่งใบสำคัญเบิกจ่าย กรณีเบิกจ่ายเงินรายได้ส่วนกลาง สำนักงานอธิการบดี, เงินรายได้ส่วนกลาง มก. และใบสำคัญการเบิกจ่าย กรณีการขอขยายกันเงินเหลื่อมปี ปีงบประมาณ 2553 (23 ก.ย. 2553) • กำหนดการจัดส่งรายงานมูลค่าทรัพย์สินของหน่วยงาน (30 ก.ย. 2554)
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิก-จ่ายเงินรายได้มหาวิทยาลัยแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิก-จ่ายเงินรายได้มหาวิทยาลัย
การกันเงินเหลื่อมปี หมายถึง การที่ส่วนราชการไม่สามารถ จะใช้จ่ายเงินได้ทันปีงบประมาณ รายจ่าย ส่วนราชการมีสิทธิ์ จะขออนุมัติเพื่อนำเงินรายการนั้น ไปใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อไปได้
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • เรื่องแนวปฏิบัติในการขอกันเงิน ข้ามปีงบประมาณเงินรายได้ ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2537
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - เรื่องระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 ข้อ 15 และ 19 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณเงินรายได้ 1. รายการที่สามารถขอกันเงินข้ามปีงบประมาณ - ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณเงินรายได้ โดยสั่งซื้อ/สั่งจ้างครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป/ รายการ
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - กรณีไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็น ต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้เสนอความจำเป็น ที่จะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก โดยให้เสนอต่อ อธิการบดีอนุมัติเป็นรายๆไป
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ระยะเวลาการใช้จ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติกันเงินแล้ว - 6 เดือน หรือ ภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไป
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. การดำเนินการขอกันเงิน - หน่วยงานยื่นขอกันเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณ อย่างน้อย 30 วัน (31 สิงหาคม) - เอกสารประกอบการยื่นขอกันเงินเพื่อประกอบการพิจารณา * สำเนาสัญญาซื้อ / จ้าง , ใบสั่งซื้อ / จ้าง , เอกสารอื่น ที่แสดงสภาพหนี้ โดยหัวหน้าหน่วยงานรับรอง
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. การขยายระยะเวลาการกันเงิน - การเบิกจ่ายดำเนินการไม่เสร็จสิ้นภายใน 31 มีนาคม สามารถขยายเวลากันเงินได้ไม่เกินวันทำการสุดท้าย ของปีงบประมาณ (30 กันยายน) - ดำเนินการโดยจัดทำบันทึกขอขยายระยะเวลาพร้อมเหตุผล ความจำเป็น แนบพร้อมบันทึกการได้รับอนุมัติกันเงินฉบับแรก
สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 ข้อ 15 1. รายการที่เบิกจ่ายไม่ทัน ยกเว้นค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ให้นำไปเบิกจ่ายในปีถัดไป 2. การอนุมัติกันเงินสำหรับค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินตามข้อ 19 เป็นผู้อนุมัติดำเนินการ ภายในวงเงินที่มีอำนาจอนุมัตินั้น
สรุปแนวทางในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณรายจ่ายสรุปแนวทางในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณรายจ่าย • การกันเงินข้ามปี กรณีก่อหนี้ผูกพัน - ก่อหนี้ไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ วงเงิน 10,000 บาทขึ้นไป - แนบเอกสารประกอบการพิจารณา - วงเงินเกิน 1 ล้านบาท ส่งเรื่องให้กองคลังดำเนินการ • กรณีไม่ก่อหนี้ผูกพัน - แจ้งเหตุผลความจำเป็น - วงเงิน 10,000 บาทขึ้นไป เฉพาะครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง - รายการอื่นเบิกจ่ายโดยใช้เงินงบประมาณปีถัดไป • ส่งเรื่องขอกันเงินข้ามปีต่อกองคลังอย่างน้อย 30 วันก่อนสิ้นปีงบประมาณ
การเบิกจ่ายและการบันทึกบัญชีการเบิกจ่ายและการบันทึกบัญชี • รายการที่ได้รับอนุมัติกันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีให้บันทึกคุมงบประมาณ เพื่อเป็นแหล่งเงินในการเบิกจ่ายในปีต่อไป • การเบิกจ่าย : จัดทำใบสำคัญเบิกจ่ายแนบพร้อมเรื่องที่ได้รับอนุมัติ กันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปี :ส่งเบิกให้เสร็จสิ้นภายใน 31 มี.ค. • การบันทึกบัญชี : บันทึกเป็นรายจ่ายในปีงบประมาณที่จัดส่งใบสำคัญเบิกจ่าย
การดำเนินการแจ้งหน่วยงานการดำเนินการแจ้งหน่วยงาน - กำหนดระยะเวลาดำเนินการตามปฏิทิน การบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ มก. - แจ้งเวียนหน่วยงานเป็นบันทึก ประมาณต้นเดือนสิงหาคม ของทุกปี
ปัญหาที่พบในปีงบประมาณ 2553 • จัดส่งทุกรายการกันเงินที่กองคลัง • กรณีไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันส่งเรื่องกันเงินเลยสิ้นปีงบประมาณ • ขอขยายระยะเวลากันเงินเกินระยะเวลาที่กำหนด
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ คุณจรรยา กุลบ่าง (กุ้ง) หมายเลขภายใน 4322 คุณไพเราะ รุ่งเรือง (เจี๊ยบ) หมายเลขภายใน 4321 , 4324 คุณวลีรัตน์ กาญจนปกรณ์ชัย (ตุ๊ก) หมายเลขภายใน 4301
เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) • จัดทำตามนโยบายของท่านอธิการบดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ให้หน่วยงานส่วนกลางรวบรวมความรู้ในการบริหารจัดการ ภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้หน่วยงานใช้เป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงานให้มีความถูกต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งมหาวิทยาลัย และใช้เป็นเอกสารแนบกรณีนำส่งเอกสาร มาดำเนินการที่ส่วนกลาง
เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) ของกองคลังมีทั้งสิ้น 26 เรื่อง ประกอบด้วย 1. ตรวจสอบ กค1 - กค4 : การเบิกจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด, เงินช่วยพิเศษ , เงินประจำตำแหน่ง, เงินบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ 2. ตรวจสอบ กค 5 : การยืมเงินโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ 3. ตรวจสอบ กค 6 : การคืนเงินประกันสัญญา 4. ตรวจสอบ กค 7 : การยืมเงินทดรองราชการ
5. ตรวจสอบ กค 8 : การยืมเงินรายได้ มก. 6. ตรวจสอบ กค9 - กค13 : การดำเนินการด้านพัสดุ(วิธีพิเศษ, สอบราคา, ประกวดราคา, การจัดทำ PO, การสร้างข้อมูล ผู้ขาย, การจำหน่ายพัสดุ) 7. ตรวจสอบ กค14 - กค19 : การเบิกบำเหน็จลูกจ้างประจำ, เงินช่วยพิเศษ, การเบิกเงินลูกจ้างชั่วคราว, การเบิกค่าจ้าง พนักงานราชการ, พนักงานมหาวิทยาลัย เงินรายได้, ค่าจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณ
8. ตรวจสอบ กค20 - กค22 : การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน นอกเวลาราชการ, ค่าใช้จ่ายเดินทางไป ราชการ 9. ตรวจสอบ กค23 : การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ 10. ตรวจสอบ กค24 - กค26 : การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม / ประชุม / สัมมนา
สามารถ Download เอกสารดังกล่าวได้จาก Website กองคลัง หากมี Check List เพิ่มเติมจะนำเสนอใน Website กองคลังต่อไป • หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายการใน Check List สอบถามได้ที่ กค 1-4 , 14-19 งานการเงิน 4316-4317 กค 5-7 งานบัญชี 4318-4320 กค 8 งานเงินรายได้ 4323 กค 9-13 งานพัสดุ 4307-4309 กค 20-26 งานงบประมาณ 4310-4313
เรื่องอื่นๆ • การแก้ไขพระราชกฤษฎีกา 1. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2553 สาระสำคัญ - เน้นให้ความสำคัญการตรวจสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน - การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน - การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยขณะไปศึกษา / ฝึกอบรม / ดูงานในต่างประเทศ - แบบฟอร์มใบเบิกเงินสวัสดิการให้ผู้ขอรับเงินสวัสดิการ รับรองสิทธิของตนเอง เช่นเดียวกับใบเบิกเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการศึกษาบุตร
2. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553 สาระสำคัญ - กำหนดเทียบตำแหน่งจาก ซี เป็น แท่ง - การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน (มาตรา 27) - ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ กรณีไปประจำสำนักงานต่างจังหวัด
แนวทางปฏิบัติในการโอนเงินที่ได้รับจากเงินรายได้แนวทางปฏิบัติในการโอนเงินที่ได้รับจากเงินรายได้ ส่วนกลาง มก. เข้าบัญชีหน่วยงาน - แจ้งเวียนหน่วยงานตามหนังสือที่ ศธ0513.10105 / ว.16471 ลว 6 ต.ค. 52 - วัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานใช้จ่ายเงิน ที่ได้รับสนับสนุนจากส่วนกลางได้คล่องตัว และเป็นไปตามระเบียบวิธีบริหารงบประมาณ
การกู้เงินโครงการ ชพค. - โครงการเงินกู้ของ ชพค. เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง ชพค. กับธนาคารออมสิน สิ้นสุดโครงการ 30 ธ.ค. 2553 เฉพาะบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิก ชพค. - หลักเกณฑ์การกู้เงิน หลักฐาน : สลิปเงินเดือน 3 เดือน มียอดเงินคงเหลือเพียงพอ สำหรับวงเงินขั้นต่ำที่ ชพค. กำหนด พร้อมหนังสือรับรองเงินเดือน : Statement หรือ หลักทรัพย์
: หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนนำส่งเงินกู้รับรองโดยมหาวิทยาลัย ปัจจุบันกองคลังลงนามในหนังสือเฉพาะบุคลากรที่จ่ายเงินเดือน โดยกองคลัง ; ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย เงินงบประมาณ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ (เฉพาะสังกัดสำนักงานอธิการบดี) - การพิจารณาจาก ชพค. : ใช้เวลา 2 เดือน : ได้รับอนุมัติการกู้เงินแล้วบุคลากรชำระคืนเงินกู้ให้ ชพค. 2 เดือนแรก เดือนถัดไปหักเงินเดือนชำระหนี้
ปัญหา - การลงนามในหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ของคณะ สำนัก สถาบัน - การหักเงินเดือนชำระคืนเงินกู้
การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 • มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางที่กำหนดข้อบังคับและวิธีปฏิบัติในเรื่องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 กำหนดว่า “ การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใดให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (1) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (2) เป็นเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นงบประมาณหรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้เบิกเหลื่อมปี และได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง”
ในกรณี(2) ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้อีก 6 เดือนปฏิทินของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่ มีความจำเป็นต้องขอเบิกจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าวก็ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นราย ๆ ไป”
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้งานในระบบ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ
หมวด 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ 101 ส่วนราชการใดได้ก่อหนี้ไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยการซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของหรือเช่าทรัพย์สินที่มีใบสั่งซื้อ หรือสัญญา หรือข้อตกลงและมีวงเงินตั้งแต่ 50,000บาทขึ้นไป หรือตามที่กระทรวงการคลังกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือว่าใบสั่งซื้อ หรือสั่งจ้างหรือสัญญาหรือข้อตกลง ที่ได้จัดทำไว้ในระบบGFMIS เป็นการขอกันเงินเหลื่อมปี ต่อไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
ในกรณีที่ส่วนราชการไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีกให้กระทรวงเจ้าสังกัดขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ ข้อ 102 การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ส่วนราชการต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปี และขยายเวลาเบิกจ่ายเงินด้วยระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) (Government Fiscal Management Information System )
ปีงบประมาณ หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายนของ ปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับงบประมาณนั้น ตัวอย่าง งบประมาณ พ.ศ. 2554 หมายถึง (ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2554)
หนี้ หมายถึง ข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายหรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของ หรือบริการไม่ว่าจะเป็นการเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อหรือการจ้างโดยใช้เครดิต
การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมายถึง การดำเนินการเพื่อให้เงินงบประมาณปีปัจจุบันที่เบิกจ่ายจากคลังไม่ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ ให้สามารถนำไปใช้จ่ายในปีงบประมาณถัดไปได้ โดยเงินงบประมาณที่ว่านั้นไม่ต้องพับไป