580 likes | 787 Views
ประสบการณ์การศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก , 23 ธ.ค. 2554. 7 – 16 กรกฎาคม 2551. นพ. อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์. ทำไมต้องศึกษาระบบการเฝ้าระวัง. ข้อมูลทั่วไปของโรคที่เราจะทำการศึกษาระบบการเฝ้าระวัง มีความสำคัญอย่างไร ที่ทำให้เราต้องมาศึกษา ขนาดของปัญหา
E N D
ประสบการณ์การศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก, 23 ธ.ค.2554 7 – 16 กรกฎาคม 2551 นพ. อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์
ทำไมต้องศึกษาระบบการเฝ้าระวังทำไมต้องศึกษาระบบการเฝ้าระวัง ข้อมูลทั่วไปของโรคที่เราจะทำการศึกษาระบบการเฝ้าระวัง มีความสำคัญอย่างไร ที่ทำให้เราต้องมาศึกษา ขนาดของปัญหา ทั่วไปใช้ระบบการเฝ้าระวังใดเป็นมาตรฐาน พื้นที่ที่เราจะศึกษาระบบการเฝ้าระวัง ใช้ระบบการเฝ้าระวังแบบใดอยู่ วัตถุประสงค์ของการศึกษา สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ความเป็นมา ไข้เลือดออกเป็นโรคที่สำคัญโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ถ้าขาดมาตรการควบคุมยุง Aedesที่เหมาะสมและเพียงพอ ยังไม่มีวัคซีนสำหรับโรคที่นำโดยยุง และการป้องกันโรคมุ่งที่การควบคุมยุง Aedes ผลกระทบจากโรคไข้เลือดออกมีมากกว่า 50 ล้านคน และ มากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โรคไข้เลือดออก (DF/DHF/DSS) พบว่าเคยมีรายงานในทุกจังหวัด
ความเป็นมา • ในประเทศไทย แพทย์รายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกผ่านรายงาน 506 ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบเฝ้าระวังโรคของประเทศไทย เริ่มระบบรายงานนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 • ระบบรายงานเร่งด่วนของจังหวัด ก. เริ่มมีในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเสริมกับระบบรายงาน 506 • ในจังหวัด ก. ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ติด 1 ใน 10 ของโรคที่ถูกรายงานในระบบรายงาน 506 มาตลอด • ไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบมากในประเทศไทยและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจะต้องรู้จักเพื่อจะได้สามารถส่งรายงานได้ถูกต้อง ครบถ้วนทั้งในระบบรายงาน 506 และระบบรายงานเร่งด่วน
วิธีดำเนินการ • พื้นที่เฝ้าระวัง……อำเภอ............ตำบล........... หมู่บ้าน................ • เวลา เดือน......................... • ความถี่............ครั้ง • ขนาดตัวอย่าง......................... • การสำรวจและการบันทึกข้อมูล • ทีมเฝ้าระวัง
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพรรณนาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของจังหวัด ก.: 1.1 ระบบรายงาน 506 1.2 ระบบรายงานเร่งด่วนของจังหวัด ก. (ภายใน 24 ชั่วโมง) 2. เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในจังหวัด ก.: โดยใช้นิยามโรคมาตรฐาน 2 นิยาม ในการประเมิน: - นิยามการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยา - นิยามโดยการวินิจฉัยของแพทย์ (DF/DHF/DSS)
ตัวแปรหลักในการประเมินตัวแปรหลักในการประเมิน เชิงปริมาณ Sensitivity PPV Accuracy Representativeness Timeliness of report • เชิงคุณภาพ • Simplicity • Flexibility • Acceptability • Stability • Usefulness
วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษา นิยามการเฝ้าระวังโรคที่ใช้ (ระบบเฝ้าระวังที่เป็นระบบเปรียบเทียบ; gold standard) วิธีการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผล
นิยามผู้ป่วย นิยามตามระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยา ผู้ป่วยสงสัย (Suspect case) ผู้ป่วยน่าจะเป็น (Probable case) ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) นิยามโดยการวินิจฉัยของแพทย์ DF - R/O DF DHF - R/O DHF DSS
BOE surveillance criteria(1) Dengue fever (DF) Suspect case Acute fever WITH at least 2 signs and symptoms as follows: severe headache, retrobulbar pain, myalgia, arthralgia, rash, any bleeding and tourniquet (TT) +ve Probable case Suspect case WITH basic lab (CBC) showsWBC≤ 5,000 and lymphocyte predominant OR Suspect case WITH evidence of epidemiological linkage toconfirmed case. Confirmed case Suspect caseWITH serological and/or virological laboratory confirmation.
BOE surveillance criteria(2) Dengue hemorrhagic fever (DHF) Suspect case Acute fever AND TT positiveWITH evidence of plasma leakage AND atleast 1 signs and symptoms as follow: severe headache, retrobulbar pain, myalgia, arthralgia, rash, any bleeding and hepatomegaly. Probable case Suspect caseAND at least 1 features as follow: Plt ≤ 100,000,Hct rising> 10-20% ORevidence of plasma leakage. ORthere are evidence epidemic data linktoconfirmed case. Confirmed case Suspect caseWITH serological and/or virological laboratory confirmation. Dengue Shock Syndrome (DSS) DF or DHFWITH signs of shock.
วิธีการศึกษา Cross-sectional study ตรวจทานเวชระเบียนและเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของทุกโรงพยาบาลในจังหวัด ก. ตั้งแต่1 เมษายนถึง 31 พฤษภาคม 2551โดยใช้การค้นหาผู้ป่วยจากรหัสโรคในระบบ ICD-10: A 90 DF A 91 DHF , DSS R 50.9 Fever, unspecified B 34.9Viral infection, unspecified ผู้ป่วยทั้งหมดที่ถูกตรวจทาน 1,204 ราย
วิธีการศึกษา สัมภาษณ์ (Face-to-face interview) ผู้เกี่ยวข้อง52 คนโดยใช้แบบสอบถาม ผู้บริหาร (Health authorities) เจ้าหน้าที่ในระบบเฝ้าระวังโรค (Surveillance staff) แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย (Medical practitioners) สังเกตกระบวนการทำงานเฝ้าระวังของโรงพยาบาล ใช้แหล่งข้อมูลจากหน่วยต่าง ๆTriangulation of information sources
วิธีการศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ สถิติเชิงพรรณนา: ร้อยละสัดส่วนค่าเฉลี่ย (mean) สถิติที่ใช้วิเคราะห์: chi-square test, p-value Software Epi-Info 3.3.2
ผลการศึกษา ผลการศึกษาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์
ในจังหวัด ก. มีระบบรายงานโรคไข้เลือดออก 2 ระบบคือ - ระบบรายงาน 506 (พ.ศ. 2513) - ระบบรายงานเร่งด่วนของจังหวัด(พ.ศ. 2549) ระบบรายงานเร่งด่วนถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยเสริมระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก รายงาน 506 จะส่งหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วและแน่ใจว่าผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจริง แพทย์ส่วนใหญ่ในจังหวัด ก. ใช้นิยามการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจากหนังสือคู่มือไข้เลือดออกฉบับเฉลิมพระเกียรติเป็นหลักในการให้การวินิจฉัย ระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเชิงพรรณนา
ระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเชิงพรรณนาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเชิงพรรณนา ทุกๆ โรงพยาบาลมี clinical management guidelines สำหรับผู้ป่วย acute fever ซึ่งต้องทำ TT ทุกคน แต่ในการทำงานจริงทำไม่ได้ทุกราย ไม่มีผล TT ในเวชระเบียน ไม่สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้โดยใช้นิยามการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยา
BOE surveillance criteria(2) Dengue hemorrhagic fever (DHF) Suspect case Acute fever AND TT positiveWITH evidence of plasma leakage AND atleast 1 signs and symptoms as follow: severe headache, retrobulbar pain, myalgia, arthralgia, rash, any bleeding and hepatomegaly. Probable case Suspect caseAND at least 1 features as follow: Plt ≤ 100,000,Hct rising> 10-20% ORevidence of plasma leakage. ORthere are evidence epidemic data linktoconfirmed case. Confirmed case Suspect caseWITH serological and/or virological laboratory confirmation.
Steps to dengue case report and control: Group1 (3 Hospitals) Patients Phone or visit ward Phone or Hosp database IPD OPD,ER Local administration joins disease control Dx. R/O DF,DHF Family & community medicine section or district epi. center DHO./HC. Investigation and control of disease Rapid report (PHO) 506 Report after patient’s discharge
Screen medical record Steps to dengue case report and control: Group2 (4 Hospitals) Patients Phone or Hosp database Phone or visit ward IPD OPD,ER Local administration joins disease control Dx. R/O DF,DHF Family & community medicine section or district epi. center DHO/HC. Rapid report (PHO) Investigation and control disease 506 Report after patient’s discharge
การดำเนินการเมื่อพบผู้ป่วยการดำเนินการเมื่อพบผู้ป่วย สำหรับการสอบสวนโรครายบุคคล สอบสวนผู้ป่วยรายแรกที่โรงพยาบาล สอบสวนทางระบาดวิทยา กีฏวิทยา ในชุมชน สำหรับการควบคุมโรคในชุมชน พ่นหมอกควันฆ่ายุงตัวแก่ กำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ให้สุขศึกษาในชุมชน เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่นการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด กิจกรรมการควบคุมต่างๆ ในชุมชน
คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ความยากง่ายของระบบเฝ้าระวัง (Simplicity) ความยืดหยุ่นของระบบเฝ้าระวัง (Flexibility) การยอมรับในระบบเฝ้าระวัง (Acceptability) ความยั่งยืนของระบบเฝ้าระวัง(Stability)
คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ความยากง่าย (Simplicity) ระบบรายงาน 506 มีมานาน เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจในระบบและกระบวนการดำเนินการ การตรวจพบผู้ป่วยทำได้โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายตำแหน่งทั้งพยาบาลเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกรวมทั้งค้นได้จากเวชระเบียน และฐานข้อมูลจากระบบ ICD10 ในโรงพยาบาล รายงานเร่งด่วนมีขั้นตอนกระบวนการเหมือนกันแต่ฐานข้อมูลที่เก็บแยกกันกับรายงาน 506 ทั้ง 2 ระบบไม่มีความซับซ้อน ง่ายในการดำเนินการ เจ้าหน้าที่สามารถทำงานทดแทนกันได้ในแต่ละขั้นตอนในระบบเฝ้าระวัง เจ้าหน้าที่ใหม่ ที่จะมารับผิดชอบงานสามารถเรียนรู้การดำเนินการในระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกได้ง่าย
คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ความยืดหยุ่น (Flexibility) ทั้ง 2 ระบบสามารถประยุกต์ใช้ในการเฝ้าระวังโรคอื่นๆ ได้ มีช่องทางในการส่งรายงานให้ สสจ. หลายช่องทาง การยอมรับ (Acceptability) รายงานเร่งด่วนเป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่มากกว่า เพราะข้อมูลแสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าและใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคได้มากกว่า แต่ระบบรายงาน 506 ถือเป็นข้อมูลอ้างอิง เพราะเป็นระบบเฝ้าระวังโรคของประเทศ
คุณลักษณะเชิงคุณภาพ ความยั่งยืน (Stability) แม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ในระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกน้อยแต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสบการณ์และอัตราการหมุนเปลี่ยนงานน้อย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ความสำคัญกับระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการควบคุมโรคไข้เลือดออกจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง รายงานเร่งด่วนถูกใช้เพื่อดูสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะรายงาน 506 ข้อมูลที่มีมักไม่เป็นปัจจุบัน
คุณลักษณะเชิงปริมาณ ความไวของระบบเฝ้าระวัง (Sensitivity) ค่าพยากรณ์บวกหรือความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค (Positive Predictive Value) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นตัวแทน (Representativeness) ความทันเวลาในการรายงาน (Timeliness of report)
คุณลักษณะเชิงปริมาณ Sensitivity Positive Predictive Value Non-case Case Report No report
Sensitivity and Positive Predictive Value 1.BOE surveillance criteria is a gold standard Non case Non case Case Rapid report (n=138) Case 506 report (n=119) Report Report No report No report Sensitivity= 41.3% PPV= 55.1% Sensitivity = 34.2% PPV= 52.9%
Sensitivity and Positive Predictive Value 2.Doctor diagnostic criteria is a gold standard Rapid report (n=138) 506 report (n=119) Non case Non case Case Case Report Report No report No report Sensitivity= 39.8% PPV= 97.1% Sensitivity = 36.4% PPV= 97.5%
Sensitivity and PPV of 506 report and Rapid report by 2 gold standards: BOE surveillance criteria and Doctor diagnostic criteria
การแบ่งกลุ่มโรงพยาบาลในจังหวัด ก. ตามผลงาน Sensitivity and Positive predictive value Good: > 70% Fair: 50 – 70% Poor: < 50%
จำนวนโรงพยาบาลตามระดับผลงานจังหวัด ก. (n=7)
จำนวนโรงพยาบาลตามระดับผลงาน จังหวัด ก. (n=7)
โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความไว (Sensitivity) และความถูกต้องในการวินิจฉัย (PPV) ในระดับแย่ถึงปานกลาง มีเพียงค่าPPV ที่ทุกโรงพยาบาลทำได้ในระดับสูงเมื่อใช้นิยามโดยการวินิจฉัยของแพทย์ **ข้อสังเกตมี 4 ใน 7 โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกน้อยกว่า 10 รายในช่วงการศึกษา ผลงานของโรงพยาบาลในระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในจังหวัด ก.
คุณลักษณะเชิงปริมาณ ความถูกต้องของตัวแปรต่าง ๆ (Accuracy of key variables) เพศ: ชายและหญิง อายุ ±1 ปี วันเริ่มมีอาการป่วย ±1 วัน ความทันเวลาในการรายงาน (Timeliness of report) เวลาตั้งแต่แพทย์วินิจฉัยจนกระทั่ง สสจ. ได้รับรายงาน(เฉพาะระบบรายงานเร่งด่วนเท่านั้น) ทันเวลา = สสจ. ได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ความเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวัง (Representativeness) เปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ป่วยทั้งจากรายงาน 506 ละรายงานเร่งด่วนว่ามีสัดส่วนเหมือนกับผู้ป่วยจริงจากการทบทวนเวชระเบียนอย่างไร
คุณลักษณะเชิงปริมาณ ความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล (คุณภาพของข้อมูล) เพศ =99.2% อายุ =94.3% วันเริ่มมีอาการป่วย = 80.8% จำนวนโรงพยาบาลตามระดับของความถูกต้องในการบันทึกในระบบรายงาน 506
ความทันเวลาในการส่งรายงานความทันเวลาในการส่งรายงาน ใน 24 ชั่วโมง =40.7% ใน 48 ชั่วโมง =58.6% จำนวนโรงพยาบาลตามร้อยละของการส่งรายงานทันเวลาจากรายงานเร่งด่วน
Representativeness 506 report had good representativeness of patients’ gender But Rapid report had poor representativeness of gender %
Representativeness • 506 report and Rapid report had good representativeness of patients’ age-group %
สำหรับผู้บริหารสาธารณสุขสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทางสาธารณสุข ใช้เป็นข้อมูลในการของบประมาณหรือทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นๆ สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นข้อมูลในการออกสอบสวนโรค ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ใช้ในการเฝ้าระวังและดูแนวโน้มสถานการณ์โรคไข้เลือดออก การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง
สำหรับชุมชน ใช้เป็นข้อมูลในการส่งข่าวสาร ข้อความเตือนสู่สาธารณะ ชุมชน เพื่อกระตุ้นให้มีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและเพิ่มความใส่ใจในเรื่องความรุนแรงของโรคและจำนวนผู้ป่วยในชุมชน สำหรับองค์กรอื่น เช่น อปท. หน่วยราชการอื่นๆ ใช้ในการทำแผนประจำปี.ในการจัดสรรงบประมาณ ใช้ในการศึกษาสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและเป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยอื่นๆ ต่อไป การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง
ระบบรายงาน 506 ข้อดี เป็นระบบรายงานของประเทศที่ดำเนินการมานานผู้เกี่ยวข้องเข้าใจระบบเป็นอย่างดี มีระบบ Software ที่สนับสนุนการทำงานคือ R-506 สามารถใช้อ้างอิงสำหรับการสร้างนโยบายการวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยต่างๆ เป็นระบบที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยและทุกจังหวัดใช้ในการส่งรายงานให้สำนักระบาดวิทยา ทำให้สามารถรวบรวมจำนวนผู้ป่วยเป็นภาพของประเทศได้ สามารถแก้ไขการวินิจฉัยในรายงาน 507 ได้ เมื่อพบว่าการวินิจฉัยสุดท้ายไม่ใช่โรคไข้เลือดออก
ระบบรายงาน 506 ข้อเสีย เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยอยากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในระบบรายงาน 506 เพราะกลัวมีผลต่อการพิจารณาความดีความชอบ ข้อมูลที่รายงานล่าช้า ความไวในการรายงานน้อยกว่ารายงานเร่งด่วน แต่ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ ทำให้เกิดการบิดเบือนของข้อมูล อุบัติการณ์ของผู้ป่วยไข้เลือดออกในระดับประเทศ ถ้าไม่รายงานผู้ป่วยตามความเป็นจริง
ระบบรายงานเร่งด่วน ข้อดี ความไวมากกว่าระบบรายงาน 506 แต่ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ ใช้ในการสวบสวนโรค ควบคุมป้องกันโรค ได้อย่างทันท่วงที เจ้าหน้าที่รู้สึกสะดวกใจที่จะรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในรายงานเร่งด่วนมากกว่ารายงานในระบบรายงาน 506 สามารถรายงานผู้ป่วยได้หลากหลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์ Fax E-mail และรายงานกระดาษ ไม่มีแบบฟอร์มรายงานที่เป็นทางการ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการส่งรายงาน
ระบบรายงานเร่งด่วน ข้อเสีย ไม่สามารถใช้จำนวนผู้ป่วยจากรายงานนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกได้ เป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับระบบรายงาน 506 ไม่สามารถเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยกับจังหวัดอื่นๆ ได้ เพราะข้อมูลมาจากระบบการจัดเก็บที่แตกต่างกัน การที่ไม่มีแบบรายงานที่เป็นทางการ และสามารถรายงานผู้ป่วยได้หลายช่องทาง อาจทำให้เจ้าหน้าที่มีความสับสนและยุ่งยากในการรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ
สรุป ระบบรายงาน 506 ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกและการควบคุมโรคในจังหวัด ก. เนื่องจากใช้ระบบรายงานเร่งด่วนแทน ระบบรายงานทั้ง 2 ระบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในแง่ของความไวในการรายงานโรคและ PPV ความทันเวลาของการรายงานโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ไม่ดี (poor) คุณภาพของข้อมูลในระบบเฝ้าระวังและผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกันในระหว่างแต่ละโรงพยาบาล
อภิปราย รายงานเร่งด่วนมีประโยชน์กว่าในการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพราะการรายงานที่รวดเร็วทันทีให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และ สสจ. ความถูกต้องในการวินิจฉัยของทั้ง 2 รายงานไม่มีความแตกต่างกัน แต่ความไวของการรายงานในรายงานเร่งด่วนสูงกว่ารายงาน 506 อย่างไรก็ตามผลงานยังมีความแตกต่างกันระหว่างแต่ละโรงพยาบาล ถ้าเจ้าหน้าที่เพิ่มความเร็วในการรายงานในระบบรายงาน 506 อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีรายงานเร่งด่วนและยังเป็นการลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่
อภิปราย การกรองผู้ป่วยไข้เลือดออกก่อนการส่งรายงานโดยบางโรงพยาบาล เพื่อลดจำนวนการรายงานผู้ป่วยเป็นผลให้ความไวของระบบรายงาน และความเป็นตัวแทนที่แท้จริงของผู้ป่วยไข้เลือดออกในระบบรายงานถูกบิดเบือน จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในรายงาน 506 ถูกนำมาใช้ในการประเมินความดีความชอบ เพราะเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจึงเลือกรายงานเฉพาะผู้ป่วยไข้เลือดออกน่าจะเป็นและผู้ป่วยยืนยันแล้วเท่านั้น(ไม่รายงานผู้ป่วยสงสัย) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและท้องถิ่นรวมทั้งชาวบ้านเพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ภายหลังได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนเป็นการใช้ประโยชน์ของข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่แท้จริง
อภิปราย แพทย์ส่วนใหญ่ในจังหวัด ก. ไม่ได้ใช้นิยามการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยาในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความไวในการรายงานโรคและความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคต่ำ TT เป็นข้อมูลที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก DHF ในนิยามการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยาดังนั้นถ้าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่บันทึกผล TT ก็จะไม่สามารถให้การวินิจฉัย DHF ได้จากการใช้นิยามนี้ อาการและอาการแสดงทางคลินิกหลายๆ อาการมีความแตกต่างกันระหว่างในนิยามของสำนักระบาดวิทยา และนิยามโดยการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดท้อง
ข้อเสนอแนะ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หลักของการรายงานในระบบรายงาน 506 คือการรายงานผู้ป่วยทุกราย แม้แต่ผู้ป่วยสงสัย เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคให้ทันเวลาในระดับพื้นที่ และการเฝ้าติดตามสถานการณ์โรคในระดับชาติ ดังนั้นทุกๆ โรงพยาบาลควรที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการมีระบบรายงาน 506 นี้ สสจ. ควรส่งเสริมให้มีมาตรฐานในการดำเนินการในระบบ 506 หรือ ในระบบรายงานเร่งด่วน ในทุกๆ โรงพยาบาลเพื่อให้ทุกโรงพยาบาลมีมาตรฐานเดียวกันในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ควรเพิ่มการใช้ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคสำหรับการวางแผนในกิจกรรมต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก