300 likes | 443 Views
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. “ ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554 ”. ขอบเขตของการแถลงข่าว. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจโลก. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ. ด้านการบริโภค.
E N D
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย “ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554”
ขอบเขตของการแถลงข่าว • ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ • ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ • เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ • ภาวะเศรษฐกิจโลก
ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ
ด้านการบริโภค การบริโภคภายในประเทศ ไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาสแรกของปี ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมที่ขยายตัวในระดับที่ดี ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความมั่นใจในการบริโภคเพิ่มขึ้น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี ส่งผลให้คาดว่ามีอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวประมาณที่ร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
ด้านการลงทุน การลงทุนภายในประเทศ ในช่วงไตรมาส 2 น่าจะสามารถขยายตัวได้อยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการขยายตัวของการลงทุนในแดนบวกต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 10.0 เร่งตัวขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี ส่งผลให้คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.6 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้า การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 น่าจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 จากความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง • ปัจจัยเกื้อหนุน • ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น • การดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้ากับกลุ่มประเทศต่างๆ จะส่งผลให้การส่งออกของประเทศขยายตัว • ปัจจัยบั่นทอน • การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง • สถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศ • แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.4 ส่งผลให้คาดว่าการส่งออกตลอดทั้งปี 2554 น่าจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 16.1 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวของการส่งออกในปีที่ผ่านมา
ด้านอุปทานของเศรษฐกิจด้านอุปทานของเศรษฐกิจ
ภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2554 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ตามความต้องการของตลาด รวมถึงระดับราคาค่อนข้างอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันในช่วงดังกล่าว สภาวะดินฟ้าอากาศค่อนข้างปกติดี แม้จะมีภาวะแห้งแล้งเกิดขึ้นในบางพื้นที่ แต่ผลกระทบในทางลบไม่มากนัก ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำหรับ GDP ภาคการเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าจะยังคงสามารถขยายตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี โดยคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีภาคเกษตรกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.5ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวในระดับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะสามารถขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.1 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากช่วงไตรมาสแรก โดยการขยายตัวในระดับที่ดีต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมเป็นผลมาจากการการส่งออกและการบริโภคในประเทศขยายตัวในระดับสูง ภาคอุตสาหกรรม ที่มา : สภาพัฒน์ฯ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย • ปัจจัยเกื้อหนุน • ภาวะเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างชัดเจน • ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นมาก • การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างชัดเจน • ปัจจัยบั่นทอน • สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ • สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ • การขาดแคลนวัตถุดิบจากสถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น • แนวโน้มราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.3 ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวในระดับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ภาคการท่องเที่ยว ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ไตรมาส 1/54 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 5.36 ล้านคน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 2.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน • ไตรมาส 2/53 คาดว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 3.5 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยล ะ 18.0 และมีรายได้จำนวน 1.28 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.5 • คาดว่าครึ่งปีหลังปี 2554 จำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 8.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 3.20 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2553 ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวน 16.7 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 6.34 แสนล้านบาทขยายตัวร้อยละ 8.5 ตามลำดับ • สถานการณ์ทางการเมือง และการชุมนุมในบางพื้นที่ • ปัญหาหนี้ของภูมิภาคยุโรป • การเกิดสึนามิ และการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเครียส์ในญี่ปุ่น • น้ำท่วมภาคใต้ • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น • + ฤดูกาลท่องเที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน • + การจัดการส่งเสริมการขายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย • + การกลับสู่ภาวะปกติของประเทศไทย
ดัชนีความเชื่อมั่น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมขยายตัวในระดับที่ดี สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไม่มีความรุนแรงใดๆ แม้จะมีการชุมนุมของกลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างต่อเนื่องก็ตาม
คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 หากไม่มีสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ และการเมืองใดๆ เข้ามากระทบอย่างรุนแรง ดัชนีในทุกภาคธุรกิจน่าจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในระดับที่ทรงตัว หรือปรับตัวลดลงได้บ้างเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เนื่องจากผ่านพ้นช่วงเทศกาลประชาชนอาจมีการชะลอการใช้จ่ายภายหลังจากมีการเร่งการใช้จ่ายไปมากในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาต่อเนื่องไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ และคาดว่าค่าดัชนีจะมีการเคลื่อนไหวในระดับที่ทรงตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 3 และค่าดัชนีน่าจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับที่เกินกว่าค่าฐานได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ซึ่งสถานการณ์ภัยธรรมชาติ สถานการณ์ทางการเมือง และระดับราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในระยะนี้ คาดการณ์ความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 2 และตลอดทั้งปี 2554 • ปัจจัยเกื้อหนุน • ระดับราคาสินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับสูง • ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศมีการฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจน • โครงการลงทุนของภาครัฐมีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ • ปัจจัยเสี่ยง • ความกังวลต่อสถานการณ์ด้านต้นทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่อง • ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันในช่วงไตรมาสที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ2.50 และคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ระดับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน จะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 และคาดว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 มีแนวโน้มของการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 0.50- 0.75 ส่งผลให้ระดับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ในช่วงปลายปี 2554 น่าจะอยู่ที่ระดับ 3.25-3.50 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปริมาณเงินฝากในระบบสถาบันการเงินยังคงมีอยู่ในระดับที่สูง เช่นเดียวกับปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้นและคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 และในช่วงครึ่งหลังของปี เชื่อว่าจะมีสัญญาณของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ มากขึ้น ตามสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีทิศทางและแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนมีมากขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นยกเว้น ไทย และเวียดนามที่ปรับตัวลดลง • มีเงินไหลลงทุนออกจากภูมิภาคเอเชียทั้งจากการเก็งกำไร และความวิตกกังวลในเรื่องสงครามในลิเบีย • การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง • พื้นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น • ไตรมาส 1/54 ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า • ไตรมาส 2/54 คาดว่าค่าเงินจะปรับตัวแข็งค่ากว่าในไตรมาส 1 โดยอยู่ที่ระดับ 30.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ตลอดปี 2554 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมายืนที่ระดับ 29.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
ปัจจัยบวกและปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลกปัจจัยบวกและปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลก ปัจจับบวก • การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีน และอินเดีย ปัจจัยลบ • ราคาอาหาร สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น • ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมี เช่น ความเสียหายจากสึนามิ หนี้สาธารณของยุโรป และปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลาง • ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก จากความเสี่ยงจากการก่อการร้าย • ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก • ปัญหาเงินเฟ้อในจีน และหนี้สาธารณะในยุโรป
สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มสรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้ม ที่มา : IMF World Economic Outlook April 2011
ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ระดับราคาน้ำมันทั้งปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 106.7 ดอลล่าร์สหรัฐ/บาร์เรล
ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย • การขยายตัวของภาคการลงทุนของภาคเอกชนที่ทุกพื้นที่เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล • จำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาท่องเที่ยวมากขึ้น • การขยายตัวของการส่งออกในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 16.1 • การดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณ 4% ของ GDP • เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย • ค่าจ้างขั้นต่ำ และเงินเดือนข้าราชการที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในปี 2554 • มาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล • การดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้มีการแข็งค่าและออ่นค่าเร็วเกินไป • การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2554 ซึ่งขาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในช่วงเลือกตั้งที่สูง
ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย • ระดับราคาน้ำมันที่เริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น • ภัยธรรมชาติ • สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก • ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมี เช่น ความเสียหายจากสึนามิ หนี้สาธารณของยุโรป และปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลาง • ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก จากความเสี่ยงจากการก่อการร้าย
กรณีที่ 1 เป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้ 60% • การเมืองมีเสถียรภาพ การเลือกตั้งผ่านไปได้อย่างปรกติ รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หลังจากเลือกตั้ง • เศรษฐกิจโลกค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีปัญหาที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกขาดความเชื่อมั่น • ไม่มีผลกระทบจากสึนามิที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น • เงินเฟ้ออยู่ที่ 3.8%-4.2% • ราคาน้ำมันอยู่ที่ 100-120 เหรียญต่อบาร์เรล • ค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.3-30.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เศรษฐกิจไทยปี 54 ขยายตัว 4.0%-4.5%
กรณีที่ 2 เป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้ 30% • การเมืองมีเสถียรภาพ การเลือกตั้งผ่านไปได้อย่างปรกติ รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หลังจากเลือกตั้ง • เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ • ไม่มีผลกระทบจากสึนามิที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น • เงินเฟ้ออยู่ที่ 4.0%-4.5% • ราคาน้ำมันอยู่ที่ 90-100 เหรียญต่อบาร์เรล • ค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.0-30.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ • การส่งออกอยู่ระหว่าง 17.6%-22.4% เศรษฐกิจไทยปี 54 ขยายตัว 4.6%-5.0%
กรณีที่ 3 เป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้ 10% • การเมืองขาดเสถียรภาพ • เศรษฐกิจโลกชะลดตัวลง • มีผลกระทบจากสึนามิที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น • เงินเฟ้ออยู่ที่ 3.5%-3.9% • ราคาน้ำมันอยู่ที่ 120-130 เหรียญต่อบาร์เรล • ค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.8-30.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ • การส่งออกอยู่ระหว่าง 10.1%-15.3% เศรษฐกิจไทยปี 54 ขยายตัว 3.5%-3.9%
ตารางสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554
ตารางสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554(ต่อ)
ตารางสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554(ต่อ)
ตารางสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1 คาดการณ์ไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปี 2554(ต่อ)